Page 4 - เอกสารประกอบการบรรยาย หน่วยการเรียนที่ 1
P. 4

การใช้ยาปฏิชีวนะให้ได้ผลดี




                       มีประสิทธิภาพ (ต่อ)











         2) พยายามตรวจให้ทราบชนิดของเชื้อก่อโรคเสมอ การตรวจง่าย ๆ

         คือการย้อมสีกรัม การย้อมสี acid-fast (และ modified acid-fast ใน


         บางกรณี) และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งส่งตรวจเหล่านี้ด้วย เนื่องจาก

         เป็นการตรวจที่สามารถท าได้ในสถานพยาบาลทุกแห่ง และหากท าได้

         ควรพยายามเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจที่เหมาะสมเสมอ ซึ่งสอดคล้อง


         กับกฎเบื้องต้นที่ควรระลึกไว้เสมอในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่า ง

         เหมาะสม คือ การหาหลักฐานสนับสนุนการติดเชื้อแบคทีเรีย หากหา

         ไม่ได้อาจหมายถึงการติดเชื้อไวรัส (viral  infection)  หรือเป็นโรคที่


         ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (non-infectious disease) และพยายามระบุ

         ชื่อของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ จากข้อมูลทางระบาดวิทยาและการ

         ตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ เช่นการเพาะเชื้อ และเลือกใช้ยาที่


         เจาะจงต่อแบคทีเรียแต่ละชนิด


         3)   ต้องทราบขอบข่ายการออกฤทธิ์                           ครอบคลุมเชื้อก่อโรค


         (Antimicrobialactivity)รวมทั้งปัจจัยเกี่ยวกับPharmaco- kinetics

         และ pharmacodynamicsของยาปฏิชีวนะต้องใช้เสมอ


         4)   กรณีที่มียาให้เลือกหลายชนิด ควรเลือกยาปฏิชีวนะที่มี


         ประสิทธิภาพสูงสุด ผลข้างเคียงน้อย และราคาต ่าที่สุด
   1   2   3   4   5   6