Page 2 - เอกสารประกอบการบรรยาย หน่วยการเรียนที่ 4
P. 2

การรักษาบาดแผลสดในสถานพยาบาลปฐมภูมิ


              (Fresh traumatic wound treatment in primary care)













                  บุคลากรสาธารณสุขไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจ า เพื่อป้ องกัน

        การติดเชื้อในแผลสดจากอุบัติเหตุที่ไม่ใช่แผลจากสัตว์กัด/คนกัด ส าหรับ


        ผู้มีภูมิต้านทานโรคปกติ เนื่องจากหลังการท าความสะอาดบาดแผลและ

        การดูแลบาดแผลอย่างเหมาะสมโอกาสติดเชื้อที่แผลมีน้อย และไม่พบ

        หลักฐานว่าการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประโยชน์



                  ข้อมูลจากการศึกษาพบว่าบาดแผลที่มือ (simple                                    hand

        laceration)  มีโอกาสติดเชื้อประมาณ 5% โดยการให้ยาปฏิชีวนะไม่ลด

        ความเสี่ยงของการติดเชื้อ งานวิจัยชนิด meta-analysis  (Cummings


        และคณะ, 1995) ที่วิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัย  ชนิด RCT รวม 7 เรื่อง

        ศึกษาการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้ องกันการติดเชื้อในบาดแผลทั่วไปที่ไม่ได้


        เกิดจากสัตว์กัด วิเคราะห์ในผู้ป่วยจ านวน 1,734 คน พบว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับ

        ยาปฏิชีวนะมีแนวโน้มการติดเชื้อเพิ่มขึ้น odd  ratio  1.16  (95%

        confidence  interval  [CI]  0.77  ถึง 1.78) เมื่อเทียบกับผู้ไม่ได้รับยา

        ปฏิชีวนะแม่เมื่อวิเคราะห์ในผู้ที่ได้รับยาปฏิชีวนะในกลุ่มที่ออกฤทธิ์                         ต่อ


        Staphylococcus aureus (penicillinase-resistant antibiotic). จ านวน

        1,204 คนจาก 5 งานวิจัย ล้วนแสดงให้เห็นว่าการให้ยาปฏิชีวนะเกิด


        ประโยชน์กับผู้ป่วย โดยมี odds ratio 1.00 (95% CI 0.59 ถึง 1.71)
   1   2   3   4   5   6   7