Page 154 - สามก๊ก
P. 154

๑๔๙



                 -     พรรณนาโวหาร จุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือ


                       มุ่งให้ ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้ง


                       เพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณนาโวหารจึงยาวกว่า



                       บรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา


                       โวหารต้องมุ่งให้ภาพและอารมณ์ ดังนั้นจึงมักใช้การเล่นค า



                       เล่น เสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วย


                       ส านวน โวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสทางวรรณคดี



                 ตัวอย่างเช่น




                 ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง โจโฉให้เชิญกวนอูมากินโต๊ะ เห็นกวนอูห่มเสื้อขาด โจโฉ



                 จึงเอาเสื้ออย่างดีให้กวนอู กวนอูรับเอาเสื้อแล้ว จึงเอาเสื้อใหม่นั้นใส่ชั้นใน


                 เอาเสื้อเก่านั้นใส่ชั้นนอก โจโฉเห็นดังนั้นก็หัวเราะแล้วถามว่า เอาเสื้อใหม่ใส่



                 ชั้นในนั้นกลัวจะเก่าไปหรือ กวนอูจึงว่าเสื้อเก่านี้ของเล่าปี่ให้ บัดนี้เล่าปี่จะ


                 ไปอยู่ที่ใดมิได้แจ้ง ข้าพเจ้าจึงเอาเสือผืนนี้ใส่ชั้นนอก หวังจะดูต่างหน้าเล่า



                 ปี่ ครั้นจะเอาเสื้อใหม่นั้นใส่ชั้นนอก คนทั้งปวงจะครหานินทาว่าได้ใหม่แล้ว


                 ลืมเก่า โจโฉได้ยินดังนั้นก็สรรเสริญกวนอูว่ามีกตัญญูนักแต่คิดเสียใจอยู่



                 กวนอูก็ลาโจโฉกลับมาที่อยู่
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159