Page 42 - 2559
P. 42
3.1.4 ระบบแสดงพิกัดหลักฐานด้านภูมิสารสนเทศ
เนื่องด้วยกรมทางหลวงชนบทมีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง ก่อสร้าง และ
บ ารุงรักษาทางหลวงชนบทให้มีโครงข่างทางหลวงที่สมบูรณ์ ครอบคลุมทั่วทั้งประทศ ซึ่งปัจจุบันกรมทางหลวงชนบท
รับผิดชอบถนนกว่า 3,200 สายทาง ระยะทางกว่า 50,000 กิโลเมตร รวมถึงสะพานชุมชนและสะพานในสายทางกว่า
8,000 แห่ง ซึ่งได้ท าการรวบรวมและพัฒนางานข้อมูลโครงข่ายทางและสะพานมาแล้วตั้งแต่ปี 2547 แต่เนื่องจาก
ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถแสดงได้เพียงต าแหน่งหรือพิกัดในทางราบ จึงมีข้อจ ากัดในการประยุกต์ใช้ข้อมูล ดังนั้นเพื่อให้
ฐานข้อมูลมีความสมบูรณ์สามารถแสดงค่าพิกัดต าแหน่งเชิง 3 มิติที่มีความระเอียดสูงและถูกต้องตามมาตรฐานสากล จึงได้
จัดท าหมุดหลักฐานถาวร (Bench Mark) ซึ่งสามารถน าไปใช้เป็นหมุดหลักฐานถาวรอ้างอิงในการเก็บข้อมูลด้านต าแหน่ง
และระดับความสูงของถนน สะพาน สภาพภูมิประเทศ ข้อมูลระดับน้ าท่วมสายทาง รวมถึงการส ารวจออกแบบ และ
ก่อสร้างในโครงการต่างๆของกรมทางหลวงชน ให้เป็นระบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยได้ด าเนินการติดตั้งหมุดหลักฐานด้าน
ภูมิสารสนเทศ (GPS) มาแล้วทั้งสิ้น 4 ระยะรวมจ านวน 3,800 หมุด
โดยวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศระบบโครงข่ายทาง
หลวงและสะพาน โดยการจัดสร้างหมุดหลักฐานถาวร
(Bench Mark)
2. ด าเนินการเก็บค่าพิกัดทางราบและค่าระดับความ
สูงของหมุดหลักฐานถาวรให้อยู่ในระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์และให้สอดคล้องกับฐานข้อมูลเดิม
3. จัดเก็บค่าพิกัดทางราบและระดับความสูง
(Profile) บนสายทางของกรมทางหลวงชนบท เพื่อใช้
อ้างอิงกับระดับน้ าสูงสุด
4. เพื่อสามารถน าฐานข้อมูลจากโครงการมาใช้งานได้
ในระบบสารสนเทศของกรมทางหลวงชนบท และ
ให้บริการกับหน่วยงานอื่นๆ ได้
ภาพที่ 3-18 แสดงตัวอย่างระบบแสดงพิกัดหลักฐานด้านภูมิสารสนเทศ
สามารถเข้าในงานระบบได้ที่ URL http://gps.drr.go.th/map
ประโยชน์ของโครงการ
1. เป็นข้อมูลอ้างอิงหลักของโครงข่ายทาง
หลวงและสะพานทั่วประเทศของกรมฯ
2. สามารถน าไปใช้เป็นหมุดหลักฐานถาวร
อ้างอิงในโครงการต่างๆ ของกรมฯ เพื่อให้
เป็นระบบพิกัดเดียวกันทั่วประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการส ารวจและ
ออกแบบรายละเอียดถนนและสะพาน
โครงการก่อสร้างถนนและสะพาน โครงการ
ภาพที่ 3-19 แสดงหมุดหลักฐานและระดับ Profile ถนน จัดเก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพาน
บนทางหลวงชนบท และระบบบริหารจัดการโครงข่ายทางหลวงชนบท (RM) ทั้งงานปรับปรุงโครงข่ายทางหลวงและ
สะพานที่มีอยู่เดิมและที่จะขยายในอนาคตน าข้อมูลไปบูรณาการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงกับระบบศูนย์เตือนภัยพิบัติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุทกภัย โดยการน าข้อมูลต าแหน่ง และระดับความสูงของถนน สะพาน และสภาพภูมิประเทศไปใช้
ประกอบในการศึกษา วางแผนและตัดสินใจ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติดังกล่าว
3. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานอื่นๆ รวมถึงท้องถิ่น เพื่อน าข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในงาน
ด้านต่างๆ ต่อไป
34