Page 137 - การเงินเพื่อชีวิต 3 สค32029
P. 137
128
หรือกู้ยืมจากสถาบันการเงินอื่น แต่สิ่งส าคัญคือ ต้องไม่กู้เงินที่ดอกเบี้ยแพงมาช าระหนี้ที่
ดอกเบี้ยถูก หรือไปกู้เงินนอกระบบ ซึ่งจะท าให้ลูกหนี้ต้องรับภาระดอกเบี้ยที่สูงมาก และ
สร้างภาระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นดุลยพินิจของเจ้าหนี้
และเป็นกระบวนการที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้เจรจาหาข้อยุติร่วมกัน ซึ่งจะส าเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับ
การเจรจาเหตุผลและความจ าเป็นของทั้งสองฝ่าย
ในกรณีที่มีภาระหนี้กับสถาบันการเงินและต้องการจะขอปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ควรท าเป็นลายลักษณ์อักษรถึงสถาบันการเงินเพื่อขอความอนุเคราะห์ โดยสิ่งที่
ควรระบุในหนังสือ ได้แก่
1) ข้อมูลของลูกหนี้ เช่น เลขที่สัญญา ประเภทสินเชื่อที่มี หนี้คงค้าง
ช าระ ประวัติการช าระที่ผ่านมา
2) ปัญหาที่ท าให้ไม่สามารถช าระหนี้ได้ เช่น รายได้ลดลงเนื่องจาก
ภาวะเศรษฐกิจ ตกงาน หรือต้องใช้จ่ายเงินเพื่อรักษาพยาบาลคนในครอบครัว โดยควรแจ้ง
รายได้ที่ได้รับในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายจ าเป็นที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ
เหตุฉุกเฉิน (ถ้ามี) ซึ่งส่งผลท าให้ไม่สามารถช าระหนี้ได้ตามจ านวนที่เคยท าข้อตกลงไว้ และควร
มีเอกสารที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้เจ้าหนี้ดูด้วย เช่น สลิปเงินเดือน ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
บันทึกรายรับ-รายจ่ายที่จดเป็นประจ า
3) แนวทางที่ต้องการให้สถาบันการเงินช่วยเหลือปรับปรุงโครงสร้างหนี้
กิจกรรมท้ายเรื่องที่ 5 วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้
(ให้ผู้เรียนไปท ากิจกรรมท้ายเรื่องที่ 5 ที่สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้)
ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 3 | หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สินเชื่อ