Page 175 - 012สังคมศึกษา-สค21001
P. 175

167


               แนวเฉลยกิจกรรม บทที่ 1 ภูมิศาสตรกายภาพทวีปเอเชีย


               กิจกรรมที่  1.1  ลักษณะทางภูมิศาสตรกายภาพของประเทศในทวีปเอเชีย

                 1) ใหผูเรียนอธิบายจุดเดนของลักษณะภูมิประเทศในทวีปเอเชีย ทั้ง 5 เขต
                   1. เขตที่ราบต่ําตอนเหนือ  สวนใหญอยูในเขตโครงสรางแบบหินเกา  มีลักษณะภูมิประเทศเปนที่ราบ

               ขนาดใหญ  มีแมน้ําออบ  แมน้ําเยนิเซ  และแมน้ําลีนาไหลผาน  แตไมคอยมีผูคนอาศัยอยู  เพราะเนื่องจากมี

               ภูมิอากาศหนาวเย็นมากและทําการเพาะปลูกไมได
                   2. เขตที่ราบลุมแมน้ํา มีลักษณะภูมิประเทศเปนที่ราบและมักมีดินอุดมสมบูรณ เหมาะแก

               การเพาะปลูก สวนใหญอยูทางเอเชียตะวันออก เอเชียใต และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ไดแก ที่ราบลุม
               ฮวงโห แยงซี จีน สินธุ คงคา พรหมบุตร ในประเทศปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ ที่ราบลุมแมน้ําไทกริส

               ยูเฟรทีส ในประเทศอิรัก ที่ราบลุมแมน้ําโขงตอนลาง ในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม ที่ราบลุมแมน้ําแดง

               ในประเทศเวียดนาม ที่ราบลุมแมน้ําเจาพระยา ในประเทศไทย ที่ราบลุมแมน้ําสาละวินตอนลาง ที่ราบลุม
               แมน้ําอิระวดี ในประเทศสาธารณรัฐแหงสหภาพพมา

                   3. เขตเทือกเขาสูง  เปนเขตเทือกเขาหินใหม เทือกเขาสูงเหลานี้สวนใหญเปนเทือกเขาที่แยกตัวไปจาก
               จุดรวมที่เรียกวา ปามีรนอต ตอนกลางประกอบไปดวยที่ราบสูง มีเทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันออก ไดแก

               เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา และเทือกเขาที่มีแนวตอเนื่องลงมาทางใต มีบางสวนที่จมหายไปใน

               ทะเล และบางสวนโผลขึ้นมาเปนเกาะ ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟก ถัดจากเทือกเขาหิมาลัยขึ้นไป
               ทางเหนือ มีเทือกเขาที่แยกไปทางตะวันออก ไดแก เทือกเขาคุนลุน เทือกเขาอัลตินตัก เทือกเขานานชาน และ

               แนวที่แยกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไดแก เทือกเขาเทียนชาน เทือกเขาอัลไต ฯลฯ เทือกเขาที่แยกไป

               ทางทิศตะวันตก แยกเปนแนวเหนือและแนวใต แนวเหนือ ไดแก เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาเอลบูชร สวนแนว
               ใต ไดแก เทือกเขาสุไลมาน เทือกเขาซากรอส

                   4. เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป    เปนที่ราบสูงอยูระหวางเทือกเขาที่หินใหม  ไดแก  ที่ราบสูงทิเบต
               ซึ่งเปนที่ราบสูงขนาดใหญและสูงที่สุดในโลก ที่ราบสูงยูนนาน ทางใตของประเทศจีน และที่ราบสูงที่มีลักษณะ

               เหมือนแอง ชื่อ ตากลามากัน ซึ่งอยูระหวางเทือกเขาเทียนชานกับเทือกเขาคุนลุน แตอยูสูงกวาระดับน้ําทะเล

               มาก และมีอากาศแหงแลง เปนเขตทะเลทราย
                   5. เขตที่ราบสูงตอนใตและตะวันตกเฉียงใต  เปนที่ราบสูงตอนใต และตะวันตกเฉียงใต ไดแก ที่ราบสูง

               ขนาดใหญทางตอนใตของทวีปเอเชีย ซึ่งมีความสูงไมมากเทากับที่ราบสูงทางตอนกลางของทวีป ที่ราบสูง
               ดังกลาว ไดแก ที่ราบสูงเดคคาน ในประเทศอินเดีย ที่ราบสูงอิหราน ในประเทศอิหราน และอัฟกานิสถาน

               ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในประเทศตุรกีและที่ราบสูงอาหรับ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย


                 2) ภูมิอากาศแบบใดที่มีหิมะปกคลุมตลอดป และพืชพรรณที่ปลูกเปนประเภทใด

               ภูมิอากาศแบบทุนดรา (ขั้วโลก)  พืชพรรณธรรมชาติเปนพวกตะไครน้ํา และมอสส
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180