Page 53 - 012สังคมศึกษา-สค21001
P. 53

45


                       รากฐานทางอารยธรรมที่สําคัญของจีนคือ การสรางระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศฉิน (ศตวรรษที่ 3

               กอน ค.ศ.) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 กอน ค.ศ. ประวัติศาสตรจีนมีทั้งชวงที่เปน
               ปกแผนและแตกเปนหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีน

               มีอิทธิพลอยางสูงตอชาติอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถายทอดดวยการอพยพของประชากร การคาและการยึดครอง

                       1.2  ประวัติศาสตรสังเขปของประเทศอินเดีย
                          ประเทศอินเดีย หรือมีชื่อเรียกอยางเปนทางการวา สาธารณรัฐอินเดีย ตั้งอยูในทวีปเอเชียใต

               เปนพื้นที่สวนใหญของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเปนอันดับที่สองของโลก และเปนประเทศประชาธิปไตย
               ที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกวาหนึ่งพันลานคน มีภาษาพูดประมาณแปดรอยภาษา

                       ในดานเศรษฐกิจอินเดียมีอํานาจการซื้อมากเปนอันดับที่สี่ของโลก โดย
                          อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เนปาล และภูฏาน

                          ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดปากีสถาน

                          ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดสาธารณรัฐแหงสหภาพพมา
                          ทิศตะวันออกเฉียงใตและตะวันตกเฉียงใตจรดมหาสมุทรอินเดีย

                          ทิศตะวันออกติดบังกลาเทศ

                       อินเดีย มีพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญกวาไทยประมาณ 6 เทา
                       ประวัติศาสตรอินเดียเริ่มตนเมื่อ  3,000  ปกอนคริสตกาล  หลักฐานทางโบราณคดี  ที่พบในแควน

               ปญจาบและแควนคุชราตของอินเดียบงบอกถึงความรุงเรืองของสังคมเมืองและอารยธรรมลุมน้ําสินธุในยุคสมัยนั้น

               ในศตวรรษที่  6  กอนคริสตศักราช  ชนเผาอินโด-อารยันที่ปกครองอินเดียอยูในขณะนั้น  ไดตั้งอาณาจักร
               ที่ปกครองโดยกษัตริยนักรบขึ้นเปนผูปกครองดินแดนที่ราบลุมแมน้ําคงคา (Ganges plain) มีชนเผาตาง ๆ

               เปนบริวารอยูรอบ ๆ ตอมามีการตอตานความมีอํานาจของพวกพราหมณที่มีอิทธิพลตอชีวิตความเปนอยูของ
               ชาวอินเดีย สวนใหญพวกที่ไมเห็นดวยตางพากันแสวงหาศาสดาใหม เปนบอเกิดของศาสนาใหม ๆ ความเชื่อ

               ใหม ๆ ขึ้น จึงทําใหเกิดศาสนาสําคัญขึ้น 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ (Buddhism) กับศาสนาเชน (Jainism)

               ในขณะที่ศาสนาฮินดูรุงเรืองและมีอิทธิพลอยางมากอยูในอินเดีย พวกมคธ (Magodh) มีอํานาจปกครองอยูใน
               แถบที่ราบตอนเหนือ พระเจาจันทรคุปตแหงราชวงคโมริยะ (Chandragupta Maurya) เปนกษัตริยองคสําคัญ

               ในประวัติศาสตรของอินเดีย พระเจาจันทรคุปตทรงตั้งเมืองปาฏะลีบุตร (Pataliputra) เปนเมืองหลวงของ
               อินเดีย ซึ่งกลาวกันวาเมืองปาฏะลีบุตรเปนเมืองใหญที่สุดของโลกในเวลานั้น

                       ตอมาพระเจาจันทรคุปตหันไปนับถือศาสนาเชนและบําเพ็ญทุกกรกิริยา  ดวยการอดอาหารตาม

               ความเชื่อของศาสนาเชนจนกระทั่งสิ้นพระชนม จากนั้นราชวงคโมริยะซึ่งเจริญรุงเรืองมากที่สุด ในยุคสมัยของ
               พระเจาอโศกมหาราช ผูแผอิทธิพลและขยายอาณาจักรอินเดียออกไปไกลจนทิศเหนือจรดแควนกัศมีรหรือ

               แคชเมียร (Kashmir) ดานทิศใตจรดไมเซอร (Mysore) ทิศตะวันออกจรดโอริสสา(Orissa) เมื่อขึ้นครองราชย

               ใหม ๆ พระเจาอโศกมหาราชทรงใชวิธีปราบปรามผูตอตานพระองค อยางโหดเหี้ยม ทรงขยายอาณาจักรดวย
               กองทัพที่เกรียงไกร เขนฆาผูคนลมตายเปนใบไมรวง แตภายหลังเมื่อพระเจาอโศกมหาราชหันมานับถือพุทธ

               ศาสนา  ทรงเปลี่ยนวิธีการขยายอาณาจักรดวยกองทัพธรรมเผยแผศาสนาพุทธโดยสงสมณทูตไปทั่วโลก
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58