Page 58 - 012สังคมศึกษา-สค21001
P. 58

50


                       ประวัติศาสตรของพมานั้นยาวนาน มีประชาชนหลายเผาพันธุเคยอาศัยอยูในดินแดนแหงนี้ เผาพันธุ

               เกาแกที่สุดที่ปรากฏไดแก มอญ ตอมาราวศตวรรษที่ 13 ชาวพมาไดอพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหวางจีน
               และทิเบต เขาสูที่ราบลุมแมน้ําอิระวดี และกลายเปนชนเผาสวนใหญที่ปกครองประเทศในเวลาตอมา

                       ประวัติศาสตรของสาธารณรัฐแหงสหภาพพมา มีความเกี่ยวของกับชนชาติตาง ๆ หลายเชื้อชาติ ไดแก

               มอญ พยู รวมถึงมีการเกี่ยวพันธกับอาณาจักรและราชวงศตาง ๆ เชน
                       มอญ เปนชนเผาแรกที่สามารถสรางอารยธรรมขึ้นเปนเอกลักษณของตนได ชาวมอญไดอพยพเขามา

               อาศัยอยูในดินแดนแหงนี้เมื่อราว  2400  ปกอนพุทธกาล  และไดสถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ  ขึ้นเปน
               อาณาจักรแหงแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกลเมืองทาตอน (Thaton) ชาวมอญไดรับอิทธิพลของ

               ศาสนาพุทธผานทางอินเดียในราว พุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อวามาจากการเผยแพรพระพุทธศาสนาในรัชสมัย
               ของพระเจาอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญสวนใหญถูกทําลายในระหวางสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญ

               เกิดขึ้นจากการผสมผสานกับวัฒนธรรมจากอินเดีย จนกลายเปนเอกลักษณของตนเองเปนวัฒนธรรมลักษณะ

               ลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 ชาวมอญไดเขาครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใตของพมาและได
               เกิดอาณาจักรใหมขึ้น เรียกวา อาณาจักรสุธรรมวดี ที่เมืองพะโค (หงสาวดี)

                       ปยุ : พยู : เพียว

                       ชาวปยุหรือพยูหรือเพียว  คือ  กลุมชนที่เขามาอาศัยอยูในดินแดนประเทศสาธารณรัฐแหง
               สหภาพพมาตั้งแตพุทธศตวรรษที่ 4 และไดสถาปนานครรัฐขึ้นหลายแหง เชนที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม

               (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปยทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในชวงเวลา

               ดังกลาว ดินแดนพมาเปนสวนหนึ่งของเสนทางการคาระหวางจีนและอินเดียจากเอกสารของจีนพบวามีเมือง
               อยูภายใตอํานาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยูเปนชนเผาที่รักสงบ ไมปรากฏวามีสงครามเกิดขึ้น

               ระหวางชนเผาพยู  ขอขัดแยงมักยุติดวยการคัดเลือกตัวแทนใหเขาประลองความสามารถกัน  ชาวพยูสวมใส
               เครื่องแตงกายที่ทําจากฝาย  อาชญากรมักถูกลงโทษดวยการโบยหรือจําขัง  เวนแตไดกระทําความผิด

               อันรายแรงจึงตองโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ไดรับการศึกษาที่วัด

               ตั้งแตอายุ 7 ขวบจนถึง 20 ป
                       นครรัฐของชาวพยูไมเคยรวมตัวเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน แตนครรัฐขนาดใหญมักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐ

               ขนาดเล็ก ซึ่งแสดงออกโดยการสงเครื่องบรรณาการใหนครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุด ไดแก ศรีเกษตร ซึ่งมี
               หลักฐานเชื่อไดวา เปนเมืองโบราณที่มีขนาดใหญที่สุดในสาธารณรัฐแหงสหภาพพมา ไมปรากฏหลักฐานวา

               อาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แตมีการกลาวถึงในพงศาวดารวามีการเปลี่ยนราชวงศเกิดขึ้นในป

               พุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงใหเห็นวาอาณาจักรศรีเกษตรตองไดรับการสถาปนาขึ้นกอนหนานั้น มีความชัดเจน
               วา อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพยายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหมทาง

               ตอนเหนือ  แตยังไมทราบอยางแนชัดวาเมืองดังกลาวคือเมืองใด  นักประวัติศาสตรบางทานเชื่อวาเมือง

               ดังกลาวคือเมืองหะลินคยี อยางไรก็ตามเมืองดังกลาว ถูกรุกรานจากอาณาจักรนานเจาในราวพุทธศตวรรษ
               ที่ 15  จากนั้นก็ไมปรากฏหลักฐานกลาวถึงชาวพยูอีกเลย
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63