Page 17 - สมัยประชาธิปไตย
P. 17
ประวัติศาสตร์ ม. ๓ หน่วยการเรียนที่ ๔ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย ๑๕
ผลงานชิ้นเอกคือ สามัคคีเภทค าฉันท์
พระยาอุปกิตศิลปะสาร ( นิ่ม กาญจนาชีวะ ( พ.ศ. ๒๔๒๒ – พ.ศ. ๒๔๘๔ ) เจ้าของนามปากกา อ.น.ก. ( อ = อุปกิต
ศิลปสาร , น = นิ่ม , ก = กาญจนาชีวะ) พระยาอุปกิตศิลปะสาร เกิดเมื่อ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๒ ถึงแก่กรรม
เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม พ .ศ. ๒๔๘๔ วรรณกรรมของท่าน มีมากมายมีทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และความเรียงแบบ
ร้อยแก้ว วรรณกรรมที่ส าคัญเรื่องหนึ่ง คือ สงครามภารตค ากลอน แต่งเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ (สมัยรัชกาลที่ ๗)
พระสารประเสริฐ ( ตรี นาคะประทีป พ.ศ. ๒๔๓๒ – พ.ศ. ๒๔๘๘ )
พระสารประเสริฐ เกิดเมื่อ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๒ เริ่มศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบ อายุ ๑๗ ปีได้บรรพชาเป็น
สามเณร ศึกษาเล่าเรียน จนได้รับรางวัลจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ผลงานการประพันธ์ ส่วนมากเขียนร่วมกับ
ผู้อื่น อาทิ มีผลงานร่วมกับพระยาอนุมานราชธน ในนามปากกา “เสถียรโกเศศและนาคะประทีป” พระสารประเสริฐ
เริ่มเข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์ประจ ากรมต ารา กระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ. ๒๔๖๕ และย้ายมาประจ ากรม
ต ารา กระทรวงศึกษาธิการ จนถึงแก่กรรมเมื่อ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ผลงานที่ส าคัญที่ท าร่วมกับพระยาอนุมาน
ราชธน คือ กามนิต ทศมนตรี หิโตประเทศ นิยายเบงคลี ได้รับประกาศนียบัตรของวรรณคดีสโมสร กถาสริตสาคร ปา
ชาหรือนิยายมากเรื่องฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) โลกนิติไตรพากย์ ธรรมนิติ บันเทิงทศวาร คนมีประโยชน์
เรื่องเหล่านี้ แม้ว่าจะแปลมาจากภาษาอื่น แต่ท านองการเขียนภาษาไทยดีมาก เป็นการขยายขอบเจต ความคิด
ความรู้ในทางวรรณคดีให้กว้างขวางออกไป
พระยาอนุมานราชธน ( ยง เสถียรโกเศศ พ.ศ. ๒๔๓๑ – พ.ศ. ๒๕๑๒ )
ศาสตราจารย์อนุมานราชธน เกิดเมื่อ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นบุตรของนายหลี นางเฮียะ ได้รับพระราชทาน
นามสกุลว่า เสถียรโกเศศ เริ่มการศึกษาจนจบชั้น ๔ โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ จากนั้นได้ศึกษาด้วยตนเอง
เริ่มท างานโดยรับราชการในกรมศุลกากร แต่สนใจทางด้านการประพันธ์จึงศึกษาค้นคว้าทางด้านภาษา ท างานใน
กรมศุลการกร จนได้เป็นผู้ช่วยอธิบดี แล้วลาออกมาท างานในกรมศิลปากร ได้เลื่อนต าแหน่งเป็นอธิบดีกรมศิลปากร
ท่านถึงแก่กรรมเมื่อ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ผลงานของท่าน เช่นช่วยพระยาอุปกิตศิลปะสาร ในการแต่ง บท
ดอกสร้อยเรื่อง ร าพึงในปุาช้า
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
รัฐบาลไทยได้พยายามแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ที่ไทยได้ท าไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ประเทศแรกที่ ยอม
แก้ไขสนธิสัญญาคือ สหรัฐอเมริกา โดยยินยอมท าสนธิสัญญาฉบับใหม่กับไทย เมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๙
ประเทศไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ( พ.ศ. ๒๔๘๒- ๒๔๘๘ )
ประเทศคู่สงครามที่ท าการสู้รบกันในสงครามโลกครั้งที่ ๒ แบ่งออกเป็น ๒ ฝุายคือ
๑. ฝุายอักษะ ประกอบด้วย เยอรมัน อิตาลี และ ญี่ปุุน
๒. ฝุายพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส
สงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นในทวีปยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ กองทัพเยอรมันเข้ารุกรานฝรั่งเศสและอังกฤษ ต่อมาญี่ปุุน
ผู้สอน ครูจิราพร พิมพ์วิชัย