Page 12 - สมัยประชาธิปไตย
P. 12

ประวัติศาสตร์   ม. ๓    หน่วยการเรียนที่    ๔       ประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย                             ๑๐















                    การบริหารประเทศภายใต้การน าของ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ( ๒๔๗๗ – ๒๔๘๑ )

               ภายในระยะเวลา ๕ ปี เหตุการณ์ภายในประเทศสงบเรียบร้อย รัฐบาลสามารถประสานงานให้ให้ฝุายทหารและฝุาย
               พลเรือน ท างานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ผลงานชิ้นส าคัญคือ การเจรจาให้สหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรป

               ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค ที่ไทยท าไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ลงได้ ท าให้ไทยได้เอกราชทางการศาลและ การค้า

               กลับคืนมาโดยสมบูรณ์ บุคคลส าคัญที่ช่วยเหลือไทยในการแก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนี้คือ ดร. ฟรานซีส บี แซร์ ( พระ
               ยากัลยา ณ ไมตรี )

               ด้านการศึกษา มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๗

               ได้ตรา พระราชบัญญัติ การประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๘ ( พ.ร.บ. ประถมศึกษาฉบับที่ ๒ ) โดยมีการเปลี่ยนแปลง
               เกณฑ์อายุการเรียนภาคบังคับของนักเรียนเป็นเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ ๘ ต้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และแก้ไข

               หลักเกณฑ์การผ่อนผันให้น้อยลง พ.ร.บ. ฉบับนี้ให้ใช้บังคับทุกต าบล แต่กว่าจะท าได้ครบทุกต าบลก็ใช้เวลานานถึง ๓๒

               ปี นับตั้งแต่การตรา พ.ร.บ. ประถมศึกษาฉบับแรก ( พ.ศ. ๒๔๖๔ ) ผลจากการออก พ.ร.บ. ประถมศึกษา ๒๔๗๘ นี้
               ท าให้เกิดโรงเรียนเทศบาลขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ นอกจากนี้ยังเปิดโรงเรียนประชาบาลทุกต าบล เพื่อขยายการศึกษา

               ภาคบังคับ
               ด้านการทหาร ยกฐานะกรมอากาศยานขึ้นเป็นกองทัพอากาศ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐

               ต่อมามีการตั้งกระทู้ถามรัฐบาล นายกไม่สามารถชี้แจงได้จึงประกาศยุบสภามีการเลือกตั้งใหม่ พระยาพหลพล
               พยุหเสนา ไม่ยอมเป็นนายกรัฐมนตรี สภาจึงเลือกพลตรีหลวงพิบูลสงครามขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีพันเอกหลวงพิบูล

               สงคราม (นายแปลก ขีตตะสังคะ หรือ ป. พิบูลสงคราม)


                 การบริหารประเทศภายใต้การน าของหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ( ๒๔๘๑-๒๔๘๗ )

                    ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ พันเอกหลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบริหารประเทศ เพื่อที่จะ

               น าประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าที่สุดในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยดูแบบอย่างจากประเทศเยอรมันและ
               ญี่ปุุนเป็นแนวทาง หลักส าคัญที่จะด าเนินการให้บรรลุเปูาหมายมี ๒ ประการคือ

                    ๑. รัฐบาลพยายามปลุกใจประชาชนให้รักชาติและเชื่อมั่นในรัฐบาลทหารอันมีหลวงพิบูลสงครามเป็นผู้น า

                    ๒. ประเทศไทยจะต้องพึ่งตนเอง ในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลได้ออกกฎหมายสงวนอาชีพไว้ให้กับคนไทย


                                                                                      ผู้สอน ครูจิราพร  พิมพ์วิชัย
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17