Page 16 - สมัยประชาธิปไตย
P. 16

ประวัติศาสตร์   ม. ๓    หน่วยการเรียนที่    ๔       ประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย                             ๑๔


               จัดการศึกษาทั้ง ๓ ส่วน เหมือนแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๕ กล่าวคือ ยังคงให้ความส าคัญของจริยศึกษา พุทธิ

               ศึกษาและพลศึกษา มีข้อแตกต่างจากแผนการศึกษาฉบับแรกคือ มีการจัดสายอาชีวศึกษาไว้ ให้นักเรียนที่เรียนจบชั้น
               ประถม ( ป. ๑ – ป. ๔ ) มัธยมต้น ( ม. ๑ – ม. ๓ ) และมัธยมปลาย ( ม. ๔ – ม. ๖ ) จัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาทั้งใน

               ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้ที่ประสงค์จะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ( มหาวิทยาลัย ) จะต้องเรียนในระดับเตรียม
               อุดมศึกษาก่อนอีก ๒ ปี ( มัธยมปีที่ ๗ – ๘ ) ในขณะนั้นประเทศไทยมีสถาบันในระดับอุดมศึกษาดังนี้

               จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๕๙

               มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. ๒๔๗๗
               มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๘๕

               มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๘๖
               มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๔๘๖



               กวีและวรรณกรรม

               พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ( พ.ศ. ๒๔๑๙ – พ.ศ. ๒๔๘๗ ) มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ – ๘)
               ประสูติเมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๔๑๙ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส ใช้นามปากกาว่า น.ม.ส. มาจากค าท้าย

               ของ “รัชนีแจ่มจรัส” เริ่มการศึกษา ในโรงเรียนพระต าหนักสวนกุหลาบ จนอายุ ๑๗ ปีเข้ารับราชการ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๐
               ได้ศึกษาวิชาพื้นฐานต่อที่ยุโรป

               เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ( สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา พ.ศ. ๒๔๑๙ – ๒๔๘๖ )

               เป็นบุตรของพระยาไชยสุรินทร์ ( เจียม เทพหัสดิน ณ อยุธยา ) เกิดเมื่อ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ เริ่มการศึกษาที่
               โรงเรียนบพิตรภิมุข แล้วย้ายไปต่อที่โรงเรียนพระต าหนักสวนกุหลาบ โรงเรียนสุนันทาลัย โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ แล้ว

               รับราชการครู จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๙ ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ กลับมารับราชการในกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ ๙
               มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๑ นาน ๒๖ ปี ต่อมาได้เป็นเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น

               เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ถึงแก่อนิจกรรม ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖

               ผลงานของท่าน ในนามปากกา ครูเทพ อาทิ บทเพลงกราวกีฬา โคลงกลอนครูเทพ จันทรชิต แม้เมฆด ายังแรขอบน้ า
               เงิน ยิหวาวิทยุ มีบทละครพูด ๔ เรื่อง คือ บ๋อยใหม่ แม่ศรีครัว หมั้นไว้ ตาเงาะ และเรื่องสั้นอีกมายมาย

               พระยาศรีสุนทรโวหาร ( ผัน สาลักษณ์ พ.ศ. ๒๔๒๔ – พ.ศ. ๒๔๖๖ )

               เกิด ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นบุตรของพระยาศรีภูริปรีชา (กมล) สมุหพระอาลักษณ์ พระยาศรีสุนทรโวหาร เริ่ม
               ศึกษา ในโรงเรียนพระต าหนักสวนกุหลาบ แล้วบวชอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้ลาสิขาบทเมื่อ พ.ศ.

               ๒๔๔๓ เข้าท างานเป็นเสมียนเอกในกรมราชเลขานุการ และย้ายไปรับราชการเป็นนายอ าเภอ ต่อมากลับเข้าท างานใน
               กรมอาลักษณ์ จนได้เป็นเจ้ากรมพระอาลักษณ์ ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ งานนิพนธ์ที่ส าคัญคือ อิลราชค าฉันท์

               นายชิต บุรทัต ( พ.ศ. ๒๔๓๕ – พ.ศ. ๒๔๘๕ )


                                                                                      ผู้สอน ครูจิราพร  พิมพ์วิชัย
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21