Page 11 - สมัยประชาธิปไตย
P. 11

ประวัติศาสตร์   ม. ๓    หน่วยการเรียนที่    ๔       ประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย                             ๙


               มีพระชนมายุเพียง ๑๖ พรรษา ก าลังศึกษาอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผู้ส าเร็จราชการกรุงเว้ ได้ออกมาต้อนรับ

               พร้อมด้วยบรรดาพระราชวงศ์ญวน พระราชชนนีของจักรพรรดิเบาได๋ คอยรับเสด็จ มีการเลี้ยงต้อนรับและถวายพระ
               พรกันตามธรรมเนียม

                       นอกจากนี้ยังได้เสด็จ ประพาสพิพิธภัณฑ์ สถานที่ฝังศพพระเจ้าแผ่นดินญวนทุกแห่ง ตลอดจนพระอารามที่
               ส าคัญในกรุงเว้ จากนั้นได้เสด็จ ทางรถยนต์มาไซ่ง่อนถึงพนมเปญผ่านพระตะบองกลับประเทศไทยทางรถไฟจาก อรัญ

               ประเทศถึงกรุงเทพฯ วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๔๗๓ รวมเวลาเสด็จประพาสอินโดจีน ๓๓ วัน

                       เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ รัฐบาลได้เร่งรัดจัดท า
               ประมวลกฎหมายที่ยังขาดอยู่อย่างรีบด่วน จนสามารถประกาศใช้ได้ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ รับบาลไทยได้พยายามเปิด

               การเจรจากับประเทศต่าง ๆ เพื่อขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ท ามาตั้งแต่สมัยรัยกาลที่ ๔ และที่แก้ไขในสมัยรัชกาลที่ ๖


               สมัยรัชกาลที่ ๘ ( พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล )

               ( ๐๒/๐๓/๒๔๗๗ – ๐๙/๐๖/๒๔๘๙ )



               ด้านการปกครอง

                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของประเทศภายใต้การปกครองระบอบ

               ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ด้านการเมืองการปกครองประเทศจึงขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นผู้บริหารประเทศ ซึ่งขณะขึ้น
               ครองราชสมบัตินั้นตรงกับรัฐบาลในสมัยของ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ขึ้นครองราย์

               นั้นพระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะผู้ส าเร็จราชการแทนพระองค์ประกอบด้วย
                    ๑. กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ เป็นประธาน

                    ๒. พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา

                    ๓. เจ้าพระยายมราช ( ปั้น สุขุม )
                    ต่อมาในเดือนสิงหาคม ๒๔๗๘ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ได้ปลงพระชนม์ชีพตนเอง รัฐบาลจึงแต่งตั้งให้

               พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นประธาน และแต่งตั้งผู้ส าเร็จราชการเพิ่มอีก ๑ ท่านคือ เจ้าพระยา
               พิชเยนทรโยธิน ( อุ่ม อินทรโยธิน ) ต่อมาเจ้าพระยายมราช ( ปั้น สุขุม ) ถึงอสัญกรรมจึงแต่งตั้งนายปรีดี พนมยงค์

               เป็นผู้ส าเร็จราชการ ภายหลังเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ถึงอสัญกรรม พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา

               ลาออก จึงเหลือ นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ส าเร็จราชการผู้เดียวตลอดมา จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               อานันทมหิดล ทรงบรรลุนิติภาวะ








                                                                                      ผู้สอน ครูจิราพร  พิมพ์วิชัย
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16