Page 32 - สมัยประชาธิปไตย
P. 32
ประวัติศาสตร์ ม. ๓ หน่วยการเรียนที่ ๔ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย ๓๐
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐–๒๕๕๔)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๔๙) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency economy ทฤษฎีใหม่ ตามพระ ราชด ารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็น
ปรัชญาน าทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถ
ด ารงอยู่ได้อย่างมั่นคงและน าไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์
เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียงคือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดย
ค านึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และ
คุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระท า
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการด ารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่
ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ด าเนินไปใน ทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการด ารงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดย มีพื้นฐานมาจาก
วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถน ามาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการ
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถน ามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบน
ทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
ค านิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการ
ผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณา
จากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนค านึง ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระท านั้น ๆ อย่างรอบคอบ
๓. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
โดยค านึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการด าเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็น
พื้นฐาน กล่าวคือ
ผู้สอน ครูจิราพร พิมพ์วิชัย