Page 32 - ภัมภีร์กศน.
P. 32
การศึกษาตามอัธยาศัย
ความนำ
การศึกษาตามอัธยาศัย ไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นการศึกษาที่มีมา
ตั้งแต่มนุษย์เกิดขึ้นในโลก มนุษย์เรียนรู้จากธรรมชาติ เช่นในสังคม
เกษตรกรรมมนุษย์เรียนรู้การหนีภัยจากธรรมชาติ และการหาอาหาร
การทำสวนครัวจากพ่อแม่ หรือสมาชิกในครอบครัว แต่ในสังคม
อุตสาหกรรม มนุษย์เรียนรู้มากขึ้นจากการติดต่อค้าขาย การอ่านการ
เขียน การฟังวิทยุ การดูโทรทัศน์ ในปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลง
สภาพแวดล้อม ทำให้มนุษย์ต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา การ
ศึกษาตามอัธยาศัยจึงเข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ใน
ยุคโลกาภิวัตน์
ความหมายการศึกษาตามอัธยาศัย
กรมการศึกษานอกโรงเรียน (2544 : 33-38) ให้ความหมาย
การศึกษาตามอัธยาศัยว่าเป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียน
เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส
โดยศึกษาจากประสบการณ์ การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน
ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และ
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.