Page 34 - ภัมภีร์กศน.
P. 34

ได้รับการถ่ายทอด  และสั่งสมความรู้  ทักษะ  เจตคติ  ความคิด  จาก
          ประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน และสิ่งแวดล้อมตลอดชีวิต เป็นการศึกษา

          ที่ไม่มีองค์กร  ไม่มีระบบ  ไม่มีจุดมุ่งหมาย  ไม่ตั้งใจ  และเรื่องที่ได้รับ
          การถ่ายทอดก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ วิถีชีวิตในสังคม ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้
          ในครอบครัว ในที่ทำงาน สถานที่ท่องเที่ยว  การเรียนรู้จากแบบอย่าง

          และทัศนคติในครอบครัวหรือเพื่อน  การเรียนรู้จากการอ่านสิ่งพิมพ์
          หนังสือพิมพ์  และจากการท่องเที่ยว  ตลอดจนการเรียนรู้โดยฟังวิทยุ
          ดูภาพยนตร์และโทรทัศน์ เป็นต้น

                 กล่าวโดยสรุปการศึกษาตามอัธยาศัย
                 •  เป็นการเรียนรู้ตามวิถีชีวิต
                 •  เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และทุกช่วงวัยของชีวิต

                 •  ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม
          และโอกาส โดยศึกษาจากประสบการณ์ การทำงาน สภาพแวดล้อม และ

          แหล่งเรียนรู้ต่างๆ
                 •  เป็นการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เจตคติ ทักษะ ความบันเทิง
          และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


          เป้าหมายของการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

                 เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ตามความสนใจ ความ
          ถนัด  และศักยภาพของแต่ละบุคคลให้สามารถศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง
          ตลอดชีวิต


          รูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
                 การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยไม่มีรูปแบบการศึกษา หรือการ

          เรียนรู้ที่ตายตัว ไม่มีหลักสูตรเป็นตัวกำหนดกรอบกิจกรรม หรือขอบข่าย



               เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39