Page 48 - ภัมภีร์กศน.
P. 48

การศึกษาทางไกล



          (Distance Education)









          ความนำ
                 มนุษย์มีธรรมชาติของความเป็นผู้ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อ

          ความอยู่รอดในการดำรงชีวิต เป็นการเรียนรู้ซึ่งเกิดจากมวลประสบการณ์
          ที่เนื่องมาจากความต้องการ ความสนใจหรือความพึงพอใจของแต่ละ

          บุคคลทั้งที่มีผู้จัดให้หรือไม่มีผู้จัดให้ก็ได้  หรือจัดโดยจงใจหรือไม่จงใจ
          ก็ตาม  สิ่งที่บุคคลจะเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมย่อมขึ้นอยู่กับว่า
          สภาพแวดล้อมนั้น มีคุณภาพทางการศึกษามากมายเพียงใด และบุคคลมี

          ความสนใจศักยภาพความพร้อมและโอกาสในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
          ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เอื้อประโยชน์ต่อการ

          เรียนรู้ของบุคคลเป็นอย่างมาก ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้
          ในทุกเวลาและทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบของ
          การศึกษาทางไกลขึ้น

                 ในส่วนของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา
          ตามอัธยาศัย ได้เริ่มจัดการศึกษาทางไกลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 โดยจัด
          การเรียนการสอนโครงการวิทยุและโทรทัศน์  ทั้งที่เป็นรายการทั่วไป

          สำหรับประชาชน และรายการเรียนตามหลักสูตร และต่อมาปี พ.ศ. 2537



               เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53