Page 51 - ภัมภีร์กศน.
P. 51
สื่อต่าง ๆ ดังกล่าว ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนการสอน และเน้นวิชา
ที่ยากและขาดแคลน ครู-อาจารย์เฉพาะสาขา ในระดับอุดมศึกษา
การศึกษาทางไกลจะอยู่ในรูปของการใช้สื่อประสม เช่น สื่อสิ่งพิมพ์
วิทยุโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เทปเสียง เทปโทรทัศน์ หรือให้ความรู้โดยวิธี
e-Learning โดยผ่านทางระบบ On-line ทาง Internet
2. การศึกษาทางไกลสำหรับการศึกษานอกระบบ เป็นการ
ศึกษาทางไกลในรูปของสื่อประสมในลักษณะของการจัดการศึกษาพื้นฐาน
และการศึกษาต่อเนื่อง (หลักสูตรระยะสั้น) เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
การประกอบอาชีพ และการพัฒนาสังคมชุมชน
3. การศึกษาทางไกลสำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการ
ศึกษาทางไกลในรูปแบบของการให้ข้อมูลข่าวสารและการศึกษาที่ส่งเสริม
การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป ในลักษณะของ
สื่อสิ่งพิมพ์ การฟังวิทยุ การดูโทรทัศน์ การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
หรือระบบโทรคมนาคม เป็นต้น
สรุป
การศึกษาทางไกล เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง
ที่เน้นการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ผู้เรียนศึกษาด้วย
ตนเองเป็นหลัก ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และเวลา บริการได้อย่าง
กว้างขวาง มีความคล่องตัวและยืดหยุ่น
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.