Page 55 - ภัมภีร์กศน.
P. 55
ต่าง ๆ ผู้นำ ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม การเมืองระดับหมู่บ้าน ตลอดจน
สภาพปัญหาต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อเข้าใจชุมชนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการ
ดำเนินงานโครงการเพื่อพัฒนาชุมชน
กาญจนา แก้วเทพ (2538) ให้ความหมายการศึกษาชุมชนว่า
เป็นการรู้จักและการทำความเข้าใจกับชีวิตของคนในชุมชนโดยการล่วงรู้
อดีต ปัจจุบัน ความหวัง ความปรารถนา ความใฝ่ฝันในอนาคตของคน
ในชุมชนแต่ละรุ่นที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ในชุมชนที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาจาก
อดีตถึงปัจจุบัน
ความสำคัญของการศึกษาชุมชน
อานันท์ กาญจนพันธุ์ (2537) ได้แสดงความคิดเห็นถึงความสำคัญ
ของการศึกษาชุมชนว่า
1. ชุมชนมีหลายองค์ประกอบ หลายมิติ หลายด้าน
2. ชุมชนสะท้อนลักษณะหรือสภาพของธรรมชาติความเป็น
มนุษย์
3. ชุมชนสามารถอธิบายว่าอะไรคือคุณค่า อะไรคือเกณฑ์ที่
ทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกัน
4. ชุมชนเป็นเรื่องของการสร้างพื้นที่ (หน่วยความสัมพันธ์) ที่
เรายืนอยู่ในฐานะที่เป็นมนุษย์ในสังคม
5. ชุมชนเป็นเรื่องของการสร้างทุนทางสังคม
กาญจนา แก้วเทพ (2538) ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. ประสบการณ์งานพัฒนาในอดีต ยึดหลักการทำงานแบบบน
ลงล่าง โดยมีความเชื่อว่าประชาชนนั้นว่างเปล่า จำเป็นที่องค์กรพัฒนา
จากภายนอก จะต้องนำทรัพยากรทุกชนิดเข้าไปให้ (แนวคิด งบประมาณ
บุคลากร ความรู้ แนวทางการทำงาน การจัดองค์กร ฯลฯ)
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.