Page 56 - ภัมภีร์กศน.
P. 56
2. เมื่อมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาจากการนำความรู้
จากภายนอกเข้าไปแทนที่ความรู้จากภายใน มาเป็นการประสานความรู้ทั้ง
จากภายนอกและภายใน เข้าด้วยกัน ต้องเผชิญปัญหาว่าจะเริ่มต้น จาก
การถือเอาชาวบ้านและชุมชนเป็นตัวตั้งได้อย่างไร
3. การศึกษาชุมชนทำให้เรารู้ว่า สิ่งที่ชุมชนมีอยู่นั้นคืออะไร
มีเหลืออยู่มากน้อยแค่ไหน อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเหมาะสม
กับกาลสมัย หรืออะไรที่ล้าสมัยไปแล้ว
ดังนั้น การศึกษาชุมชนจึงมีความสำคัญ และมีความจำเป็นอย่าง
ยิ่งในการพัฒนาชุมชนและการแก้ปัญหาของชุมชน
วัตถุประสงค์ของการศึกษาชุมชน
1. เพื่อทดสอบความรู้ต่าง ๆ เพื่อยืนยันและเป็นการทำให้ความรู้
เดิม มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
2. เพื่อหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นการหาความรู้
ใหม่ เพิ่มเติมความรู้ให้มากยิ่งขึ้น
3. เพื่อนำข้อเท็จจริงไปใช้ประโยชน์และเป็นเครื่องมือในการ
พัฒนา ทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนและนโยบาย รวมทั้งการนำ
ไปใช้ในทางปฏิบัติ เช่น
3.1 เห็นลู่ทางในการกระตุ้น ส่งเสริมให้คนหรือกลุ่มในชุมชน
ริเริ่มกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาของตนเอง
3.2 สามารถดึงศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ต่อกระบวนการพัฒนาจากล่างขึ้นบน
4. กำหนดลักษณะและขอบเขตของปัญหาชุมชน
5. เพื่อทราบว่าปัญหาส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อน
แก่ชุมชนเพียงใด
0 เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.