Page 46 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 46
46
3.1 ผู้เยาว์
1. ระยะเวลาแห่งการเป็นผู้เยาว์นั้น เริ่มตั้งแต่เกิดและสิ้นสุดลงเมื่อบรรลุนิติภาวะ ซึ่งมี 2 กรณีคือ
ก) อายุครบ 20 ปี บริบูรณ์
ข) สมรสตามกฎหมาย
2. กฎหมายบัญญัติเป็นหลักทั่วไปไว้ว่า ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใดๆ จําต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทน
โดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นกิจกรรมที่กระทําไปเป็นโมฆียะ หลักนี้ใช้บังคับกับผู้เยาว์ระยะที่มีความรู้สึกผิด
ชอบแล้วเท่านั้น เพราะผู้เยาว์ระยะที่ยังไม่มีความรู้สึกผิดชอบไม่อาจทํานิติกรรมได้ด้วยตนเองอยู่แล้ว
3. ผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น หมายถึง
ก) ผู้ใช้อํานาจปกครองซึ่งได้แก่ บิดามารดา
ข) ผู้ปกครองซึ่งได้แก่บุคคลอื่นที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อปกครองผู้เยาว์
4. อํานาจปกครองของผู้ใช้อํานาจปกครองและผู้ปกครองนั้น หมายความรวมทั้งส่วนที่เกี่ยวกับตัวผู้เยาว์
และในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ด้วย
5.ผู้ใช้อํานาจปกครองและผู้ปกครองมีอํานาจจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ได้ทุกอย่างตาม
ลําพัง ด้วยความระมัดระวังเช่นวิญ�ูชนพึงกระทํา เว้นแต่กิจการที่ถูกระบุห้าม หรือกิจการบางอย่างซึ่งเป็น
หนี้ที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว หรือกิจการที่ต้องขออนุญาตศาล
6. ข้อยกเว้นหลักทั่วไปในการทํานิติกรรมของผู้เยาว์มีอยู่ 3 ประการ คือ
ก) นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว
ข) นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทําเองเฉพาะตัว
ค) นิติกรรมที่จําเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้เยาว์กรณีเหล่านี้ผู้เยาว์สามารถทําไปได้โดยไม่ต้องรับความ
ยินยอม
7. เรื่องของผู้เยาว์ประกอบธุรกิจทางการค้า หรือธุรกิจอื่นและทําสัญญาเป็นลูกจ้าง มีลักษณะคล้ายกับ
เป็นข้อเว้นหลักทั่วไป แต่จะไม่ตรงกันที่เดียว เพราะมิใช่ว่าผู้เยาว์จะทําการค้าไปได้เลย คงต้องขออนุญาต
ก่อนเช่นเดียวกัน ต่อเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงสามารถทํากิจการต่างๆ ได้ ภายในขอบเขตแห่งกิจการนั้น
เสมือนดั่งว่าเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าความยินยอมให้ผู้เยาว์ประกอบธุรกิจทางการค้า
หรือธุรกิจอื่นและทําสัญญาเป็นลูกจ้าง มีลักษณะเป็นความยินยอมทั่วไป ซึ่งเป็นข้อยกเว้นแตกต่างจาก
ความยินยอมเฉพาะการที่ใช้ได้เฉพาะเรื่องที่อนุญาตเป็นเรื่องๆไป