Page 48 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 48

48


               3. การเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถสิ้นสุดลงด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

               1) คนเสมือนไร้ความสามารถตาย
                2) ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

               3) เหตุบกพร่องหมดไป และศาลสั่งเพิกถอนคําสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว

                                             4.โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม

                1. นิติกรรมที่เป็นโมฆะ คือ นิติกรรมที่ไม่มีผลในทางกฎหมายเลยทั้งไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มี

               ส่วนได้เสียคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
                2. นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ คือ นิติกรรมที่สมบูรณ์แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่อาจถูกบอกล้าง หรือ อาจให้

               สัตยาบันได้

                3. ผู้มีสิทธิบอกล้างและให้สัตยาบันโมฆียะกรรม คือ ผู้ทํานิติกรรมนั่นเอง และผู้ที่คุ้มครองดูแลผู้หย่อน

               ความสามารถ
               4.1 โมฆะกรรม

                1. นิติกรรมที่เป็นโมฆะจะไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมายได้เลย

                2. ผลแห่งโมฆะกรรมนั้นกฎหมายได้บัญญัติให้เสียเปล่าไปทั้งหมด หรืออาจมีผลบ้างในบางส่วนหรือบาง

               กรณีที่กฎหมายกําหนดไว้
                3. การเรียกทรัพย์คืนอันเนื่องจากนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะนั้น กฎหมายให้เป็นไปตามหลักเรื่องลาภมิควรได้

               4.1.1 ความหมายของโมฆะกรรม และนิติกรรมที่เป็นโมฆะ

                สาเหตุที่ทําให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ เช่น
                (1) เนื่องจากวัตถุประสงค์ของนิติกรรมเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งโดยกฎหมาย

                (2) เหตุเนื่องจากนิติกรรมไม่ทําตามแบบที่กฎหมายกําหนด

                (3) เหตุอันเนื่องจากเงื่อนไขของนิติกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                (4) นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง

                (5) นิติกรรมที่เกิดจากการสําคัญผิดในสาระสําคัญแห่งนิติกรรม
                4.1.2 ผลของโมฆะกรรม

                 ผลของนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะคือ นิติกรรมนั้นเสียเปล่าไม่อาจให้สัตยาบันได้ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียย่อม

               อ้างโมฆะกรรมได้
                4.1.3 โมฆะกรรมนั้นอาจแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกได้ จากที่ไม่สมบูรณ์

                 โดยหลักแล้วนิติกรรมที่ทําขึ้นเผื่อเป็นโมฆะทั้งหมด แต่ถ้านิติกรรมนั้นสามารถแยกได้เป็นส่วนโดยเป็น

               อิสระจากกันได้ และโดยพฤติการณ์พึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีเจตนาที่จะแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกจากส่วนที่
               ไม่สมบูรณ์
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52