Page 17 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 17

17


               3. การใช้บังคับกฎหมายอาญา

                 1. กฎหมายอาญาต้องมีบทบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดแจ้งปราศจากการคลุมเครือ และจะต้อง

               ตีความตามตัวอักษรโดยเคร่งครัด
                 2. กฎหมายอาญาจะให้ผลย้อนหลังแก่ผู้กระทํามิได้ แต่ย้อนหลังเพื่อเป็นคุณได้

                 3. กฎหมายอาญาใช้บังคับสําหรับการกระทําผิดที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ส่วนการกระทําผิดนอก

               ราชอาณาจักรนั้น อาจใช้บังคับกฎหมายอาญาได้บางกรณี โดยคํานึงถึงสถานที่ สภาพของความผิดและ

               ผู้กระทําผิด
                 3.1 ลักษณะการใช้กฎหมายอาญา


                 1. กฎหมายอาญาต้องมีบทบัญญัติความผิดและบทลงโทษไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดแจ้งแน่นอน
                 2. กฎหมายอาญาต้องตีความตามตัวอักษรโดยเคร่งครัด

                 3. กฎหมายอาญาจะย้อนหลังให้ผลร้ายแก่ผู้กระทําโดยบัญญัติเป็นความผิดหรือเพิ่มโทษในภายหลังมิได้

                3.1.1 กฎหมายอาญาต้องมีบทบัญญัติโดยชัดแจ้ง
                  กฎหมายอาญาต้องมีบทบัญญัติโดยชัดแจ้ง หมายความว่า กฎหมายอาญาจะต้องมีบทบัญญัติไว้เป็น

               ลายลักษณ์อักษร โดยบัญญัติความผิดและโทษไว้ในขณะกระทํา และบทบัญญัตินั้นต้องชัดเจนปราศจาก

               การคลุมเครือมิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติรับรองไว้ในมาตรา 2 ที่ว่า

               บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทําการอันกฎหมายที่ใช้ขณะกระทําการนั้นบัญญัติเป็น

               ความผิดและกําหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทําผิดนั้นต้องเป็นโทษที่กําหนดไว้ในกฎหมาย
                 การใช้บังคับกฎหมายอาญานั้น จะบัญญัติการกระทําที่เป็นความผิดโดยไม่มีบทกําหนดโทษ หรือกําหนด

               บทลงโทษโดยไม่บัญญัติความผิดไม่ได้ เพราะการลงโทษเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพส่วน

               บุคคลโดยตรงหากให้ผู้อํานาจผู้บังคับกฎหมายกําหนดโทษได้เอง หรือลงโทษเสียก่อนจึงกําหนดความผิด
               ภายหลัง ก็จะเป็นการเปิดช่องให้มีการใช้อํานาจตามอําเภอใจได้โดยง่าย ซึ่งจะเป็นผลให้กระบวนการ

               ยุติธรรมเบี่ยงเบนไป และประชาชนก็จะขาดหลักประกันในสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล เช่นนี้ย่อมเป็นที่

               เสียหายต่อความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองและสังคมโดยรวม ฉะนั้นลักษณะการใช้บังคับกฎหมายจึงถือ

               หลัก “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ไม่มีกฎหมาย” โดยเคร่งครัด

                3.1.2 กฎหมายอาญาต้องมีตีความโดยเคร่งครัด
                  ที่ว่ากฎหมายอาญาจะต้องตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัดนั้นหมายความว่ากฎหมายบัญญัติการ

               กระทําใดเป็นความผิดและต้องรับโทษในทางอาญาแล้วต้องถือว่าการกระทํานั้นเท่านั้นที่เป็นความผิดและ

               ผูกระทําถูกลงโทษจะรวมถึงการกระทําอื่นๆด้วยไม่ได้อย่างไรก็ดีในบางกรณีการตีความตามตัวอักษรแต่
               เพียงอย่างเดียว ยังไม่อาจทําให้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ด้วยเหตุนี้จึง

               ต้องคํานึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายด้วยนอกจากนี้ การตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัดดังกล่าว

                มีความหมายเฉพาะการเคร่งครัดในด้านที่เป็นคุณแก่ผู้กระทําเท่านั้น มิใช่ในทางที่จะเป็นโทษแก่ผู้กระทํา
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22