Page 13 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 13
13
6. อาชญากรรมในสังคมอาจแบ่งออกได้หลายลักษณะคือ อาชญากรรมพื้นฐาน อาชญากรรมจากการ
ประกอบอาชีพ อาชญากรรมที่ทําเป็นองค์การ อาชญากรรมที่ทําเป็นอาชีพ อาชญากรรมทางการเมือง และ
อาชญากรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ในประเทศไทยอาชญากรรมที่ร้ายแรงและไม่ร้ายแรง
เกิดขึ้นมาก
7. การจัดทําสถิติอาชญากรรมทําได้ 2 ทางด้วยกันคือ อย่างเป็นทางราชการและไม่เป็นทางราชการ
8. สถิติอาชญากรรมที่ไม่ใช่ทางราชการ อาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ว่าอาชญากรรมเกิดขึ้นในสังคมมี
มากกว่าที่ปรากฏในสถิติของทางราชการ เกณฑ์วัดการเกิดขึ้นของอาชญากรรมว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงใน
ระหว่างปีที่ศึกษา อาจทําได้โดยเปรียบเทียบสถิติอาชญากรรมต่อประชากร 100,000 คน
2.1.1 อาชญากรรมและอาชญากร
นิยามอาชญากรรมมี 2 นิยาม คือ นิยามตามกฎหมายและนิยามทางสังคม สถิติของทางราชการใช้นิยาม
ตามกฎหมาย
ผู้กระทําความผิดที่ต้องโทษในเรือนจําของไทยส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มอายุ 21-25 ปี
2.1.2 อาชญาวิทยาและสํานักอาชญาวิทยา
สํานักคลาสสิกเห็นว่า อาชญากรรมเกิดจากเจตน์จํานงอิสระของบุคคลที่แสวงหาความสุขและได้
ประกอบกรรมอันนั้นโดยเจตนา เพราะฉะนั้นจึงเน้นการศึกษาที่อาชญากรรม
สํานักโปสซิตีพและสํานักป้องกันสังคม เห็นพ้องกันว่าอาชญากรรมมิใช่เป็นการกระทําโดยเจตนา
หากแต่ผู้ถูกบังคับให้กระทําอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และตัวที่บังคับให้กระทํานั้นอาจเป็นปัจจัยทางชีววิทยา
ทางจิตวิทยา หรือทางสังคมวิทยาก็ได้ เพราะฉะนั้นจึงเน้นให้ศึกษาผู้กระทําความผิดเพื่อค้นหาสาเหตุโดย
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
2.1.3 ลักษณะและขอบเขตของอาชญากรรม
อาชญากรรมพื้นฐานเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในทุกสังคมตั้งแต่โบราณกาลคือ ความผิดต่อชีวิตร่างกาย
และทรัพย์สินและเพศ เช่น ทําร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และข่มขืนกระทํา
ชําเรา เป็นต้น
อาชญากรรมพื้นฐานแตกต่างจากอาชญากรรมที่จัดเป็นองค์การตรงที่อาชญากรรมพื้นฐานเป็น
อาชญากรรมที่ทําเป็นส่วนบุคคล ส่วนอาชญากรรมที่เป็นองค์การ มิใช่อาชญากรรมที่ทําเป็นส่วนบุคคล แต่
มีหน่วยงานเป็นผู้ดําเนินการรับผิดชอบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นองค์การอาชญากรรมหรือองค์การนอกกฎหมาย
เช่น การจัดให้มีการค้าประเวณี เล่นการพนัน ค้ายาเสพติดหรือลักลอบขนของหนีภาษี เป็นต้น