Page 10 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 10

10


                   1.2 ปรัชญาของกฎหมายอาญา

               1. วัตถุประสงค์กฎหมายอาญา คือ คุ้มครองส่วนได้เสียของสังคมให้พ้นจากการประทุษร้ายต่างๆ
                    กฎหมาอาญาจึงเป็นสิ่งจําเป็นยิ่งต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม

               2. ทฤษฎีกฎหมายอาญา หมายถึง กลุ่มแนวความคิดหรือหลักการที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของกฎหมาย

               1.2.1 ความมุ่งหมายของกฎหมายอาญา
                 กฎหมายอาญามีความมุ่งหมายในอันที่จะคุ้มครองประโยชน์ของส่วนรวมให้พ้นจากการประทุษร้าย

               โดยอาศัยการลงโทษเป็นมาตรการสําคัญ

                เหตุผลหรือความชอบธรรมในการลงโทษของรัฐมีผู้ให้ความเห็นไว้ 3 ประการ คือ

                   (1) หลักความยุติธรรม
                   (2) หลักป้องกันสังคม

                   (3) หลักผสมระหว่างหลักความยุติธรรมและหลักป้องกันสังคม

                 อํานาจในการลงโทษของรัฐมีข้อจํากัดโดยบทบัญญัติในกฎหมาย กล่าวคือ

                   (1) โทษจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย
                   (2) ในความผิดที่กฎหมายกําหนดโทษขั้นสูงไว้ รัฐจะลงโทษผู้กระทําความผิดเกิดกว่านั้นไม่ได้

                         เว้นแต่จะมีเหตุเพิ่มโทษตามกฎหมาย

                   (3) ในความผิดที่กฎหมายกําหนดโทษขั้นตํ่าไว้ รัฐลงโทษผู้กระทําความผิดตํ่ากว่านั้นไม่ได้

                         เว้นแต่จะมีเหตุลดโทษตามกฎหมาย

                    4) ในความผิดที่กฎหมายกําหนดโทษขั้นตํ่าไว้และขั้นสูงไว้ รัฐมีอํานาจลงโทษได้ตามที่เห็นสมควร
                         ในโทษขั้นตํ่าและขั้นสูงนั้น

                1.2.2 ทฤษฎีกฎหมายอาญา

                 ทฤษฎีกฎหมายอาญาในทรรศนะตามคอมมอนลอว์ เป็นประการใด
                 นักทฤษฎีกฎหมายอาญาในระบบคอมมอนลอว์เห็นว่า กฎหมายอาญาแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ภาค

               ความผิด หลักทั่วไป และหลักพื้นฐาน

                 ภาคความผิด เป็นส่วนที่บัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐานต่างๆ หรือคําจํากัดความของความผิดแต่ละฐาน

               และกําหนดโทษสําหรับความผิดนั้นนั้นด้วยเป็นส่วนที่มีความหมายแคบที่สุดแต่มีจํานวนบทบัญญัติมาก

                 หลักทั่วไป เป็นส่วนที่มีความหมายกว้างกว่าภาคความผิดและนําไปใช้บังคับแก่ความผิดต่างๆ เช่น เรื่อง
               วิกลจริต ความมึนเมา เด็กกระทําความผิด ความจําเป็น การป้องกันตัว พยายามกระทําความผิด ตัวการ

               ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน เป็นต้น

                 หลักพื้นฐาน ส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจของกฎหมายอาญาและเป็นส่วนที่มีความหมายกว้างที่สุด ซึ่งต้อง

               นําไปใช้บังคับแก่ความผิดอาญาต่างๆ เช่นเดียวกับหลักทั่วไป
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15