Page 5 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 5
5
กฎหมายในชีวิตประจําวัน
ความหมายและความจําเป็นของการมีกฎหมาย
กฎหมาย คือ การกระทําของรัฐเป็น Stage action หรือ เป็นคําสั่งหรือระเบียบข้อบังคับของผู้มีอํานาจใน
รัฐหรือประเทศนั้นได้ออกหรือกําหนดมา เพื่อใช้บังคับความประพฤติของบุคคล หรือประชาชนในรัฐหรือ
ประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแล้ว ผู้นั้นจะต้องได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่
กฎหมายกําหนดไว้
ซึ่งเราสามารถแบ่งลักษณะกฎหมายได้ 2 ลักษณะ คือ
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Civil Law)เป็นบทบัญญัติ หรือข้อบังคับที่เกิดขึ้นโดยผู้มีอํานาจใน
ประเทศนั้นๆ เช่น ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ผู้มีอํานาจออกกฎหมายคือ รัฐสภา และ
สามารถบังคับที่ใช้บังคับได้ทั่วไป คือใช้บังคับกับทุกคนในประเทศ หากมีการฝ่าฝืน ผู้นั้นจะต้องได้รับ
ผลร้ายหรือถูกลงโทษ
2. กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร(Common Law) หรือ จารีตประเพณี ซึ่งก็คือ เหตุผลตามธรรมชาติ
สามัญสํานึก / สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่างได้ตามความนิยม หรือลักษณะนิสัยใจคอของผู้ยึด ถือปฏิบัติ
เช่น ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการสาดนํ้าวันสงกรานต์ เป็นต้น
จารีตประเพณีมีความคล้ายคลึงกับกฎหมายคือต่างก็มีข้อกําหนดบังคับความประพฤติของมนุษย์ว่า ควร
ทําอย่างนั้น ไม่ควรทําอย่างนี้ เพื่อให้สังคมนั้นอยู่กันโดยสันติสุข
ดังนั้น กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมีความแตกต่างกันอยู่หลาย
ประการ คือ กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเรื่องของผู้มี อํานาจในประเทศนั้นเป็นผู้กําหนดขึ้นมา
และใช้บังคับกันทั่วไปทุกคน ส่วนกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีเป็นข้อบังคับ หรือ
กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือชุมชนใดชุมชนหนึ่งเท่านั้น ประการสําคัญคือ จารีต
ประเพณีเป็นเรื่องการกําหนด กฎเกณฑ์ขึ้นมาโดยประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคมนั้นๆ ซึ่งเป็นหน่วย
ย่อยของประเทศชาติ อีกประการหนึ่ง กฎหมายนั้นเมื่อผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับผลร้ายและถูกบังคับ ลงโทษ
ทันที แต่การฝ่าฝืนจารีตประเพณี ผู้ฝ่าฝืนเพียงแต่ได้รับผลร้ายโดยการถูกตําหนิติเตียนจากชุมชน นั้นๆ
เท่านั้น