Page 18 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 18

18


                 ในการตีความกฎหมายอาญานั้นจะนําหลักการเทียบกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับให้เป็น

               ผลร้ายแก่ผู้กระทํามิได้หลักการเทียบเคียงนั้นใช้เฉพาะในกฎหมายแพ่งดังที่มีบัญญัติไว้ในประมวล
               กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 อย่างไรก็ดีหลักการเทียบเคียงดังกล่าวอาจนํามาใช้เพื่อเป็นคุณหรือ

               ประโยชน์แก่ผู้กระทําได้

                3.1.3 กฎหมายอาญาจะย้อนหลังให้ผลร้ายมิได้

                 ที่ว่ากฎหมายอาญาย้อนหลังเป็นผลร้ายมิได้นั้น มีความหมายครอบคลุมใน 2 กรณี ดังต่อไปนี้
                 (1) กฎหมายอาญา จะย้อนหลังเพื่อลงโทษมิได้ กล่าวคือในเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้

               ในขณะกระทํา จึงใช้บังคับกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังย้อนหลังกลับไปให้ถือว่าการกระทํานั้นเป็น

               ความผิด และลงโทษบุคคลผู้กระทํานั้นมิได้

                 (2) กฎหมายอาญาจะย้อนหลังเพื่อเพิ่มโทษหรือเพิ่มอายุความมิได้ กล่าวคือในขณะกระทํามีกําหมาย
               บัญญัติเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้ ต่อมามีกําหมายใหม่บัญญัติเพิ่มโทษการกระทําดังกล่าวนั้นให้

               หนักขึ้น หรือเพิ่มอายุความแห่งโทษหรืออายุความแห่งการฟ้องร้องผู้กระทําผิดนั้นให้ยาวยิ่งขึ้น จะนํา

               กฎหมายใหม่ดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ผู้กระทํามิได้ ในกรณีเช่นนี้จะต้องนํากฎหมายที่มีอยู่เดิมใช้บังคับแก่

               ผู้กระทําผิด

                 อย่างไรก็ดีการใช้บังคับกฎหมายอาญาอาจย้อนหลังเป็นผลดีได้ และวิธีการเพื่อความปลอดภัยมิใช่โทษ
               ทางอาญา จึงใช้บังคับย้อนหลังได้

                   3.2 การใช้กฎหมายอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับเวลา

                   1.  กฎหมายที่บัญญัติขึ้นในภายหลังแตกต่างไปจากกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทําผิด  ให้ใช้กฎหมายใน

               ส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทําผิด

                   2. วิธีการเพื่อความปลอดภัย จะใช้บังคับแก่บุคคลใดก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ใช้บังคับได้
               เท่านั้น และกฎหมายที่จะใช้บังคับนั้น ให้ใช้กฎหมายในขณะที่ศาลพิพากษา

                3.2.1 กรณีกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่ผู้กระทําผิด

                 การใช้บังคับกฎหมายอาญาย้อนหลังเป็นผลดีแก่ผู้กระทํานั้น มี 2 กรณี ได้แก่กฎหมายใหม่ยกเลิก

               ความผิดตามกฎหมายเก่า และกรณีกฎหมายใหม่แตกต่างจากกฎหมายเก่า
                 (ก) กรณีกฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดตามกฎหมายเก่า ได้แก่กฎหมายที่ออกมาในภายหลังบัญญัติให้

               การกระทํานั้นไม่เป็นความผิดตามกฎหมายเก่า และกรณีใหม่แตกต่างจากกฎหมายเก่า

                  - ผู้กระทํานั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทําผิด กล่าวคือ หากมีกฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดตามกฎหมายเก่า

               ในขณะที่ไม่มีคําพิพากษาถึงที่สุดให้คดีนั้นเป็นอันยุติ นั้นคือผู้กระทําความผิดนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทํา
               ความผิดโดยอัตโนมัติ
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23