Page 140 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 140

ซึ่งจะมีข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งรวมครบวงจร กระบวนการบริหาร ดังกล่าวจะทํา

                     ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทําให้เกิดการขนส่งอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด ขนาดขององค์กรจะ

                     เล็กลง แต่การให้บริการจะมีขีดความสามารถกว้างขวางมากขึ้น ทําให้สามารถ ขยายตลาดได้อย่างทั่วถึง
                     และทําให้ได้รับประโยชน์ทั่วหน้ากัน ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค”


                     สถานการณ์ค่าระวางของไทยในอนาคต

                            การขนส่งสินค้าทางทะเลของโลกมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมากโดยลําดับ ค่าระวางเรือ และ

                     ค่าใช้จ่ายของโลกโดยรวมมีแนวโน้มลดลง แต่ค่าระวางเรือและค่าใช้จ่ายของประเทศไทยมิได้ ลดลงตาม
                     ไปด้วย แต่กลับมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณการขนส่งสินค้าของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการ

                     ขนส่งสินค้าเทกอง โดยกองเรือจรประเภทเช่าเหมา (Tramp) ค่าขนส่งสินค้าทาง ทะเลของประเทศไทย

                     จะยังคงมีอัตราที่สูง ซึ่งเกิดจากสาเหตุสองประการ

                            - ประการแรก ประเทศไทยไม่อยู่ในแผนที่เดินเรือของโลก ท่าเรือในประเทศไทยเป็น ท่าเรือที่

                     อยู่ในแผ่นดินลึกเข้าไปจากท่าเรือหลัก ซึ่งแตกต่างจากสิงคโปร์และฮ่องกง ทําให้ไม่มีเรือ แวะผ่านเข้าท่า
                     มากนัก มีเฉพาะเรือที่เข้ามารับส่งสินค้าเข้า-ออกของไทยเท่านั้น สินค้าที่ส่งออก และนําเข้าโดยเรือคอน

                     เทนเนอร์ส่วนใหญ่ยังต้องขนถ่ายโดยใช้เรือ Feeder ที่เมืองท่าหลัก เช่นสิงคโปร์ เปรียบเสมือนหนึ่งการ

                     ที่ต้องขึ้นรถสองแถวไปต่อรถเมล์ที่ปากซอยเพื่อไปทํางาน แล้ว ขากลับก็ต้องลงรถเมล์ที่ปากซอยแล้วจึง
                     ต่อสองแถวเข้าบ้านอีกต่อหนึ่ง จึงมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น


                            - ประการที่สอง คือ การที่เราไม่มีกองเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่เป็นของตนเอง กองเรือที่มี อยู่เป็น
                     แค่กองเรือที่มีขนาดเล็กมาก การขนส่งสินค้าของไทยต้องพึ่งพาเรือต่างชาติในอัตราถึง ร้อยละ 90 ทําให้

                     นอกจากจะเสียค่าระวางที่แพงมากแล้ว ยังถูกเรียกเก็บเงินค่าระวางพิเศษ หรือ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก

                     เป็นอันมากด้วย

                            การที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเส้นทางเดินเรือหลักของโลก จึงขาดแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการ

                     พัฒนากองเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ขึ้น เหมือนกับประเทศที่อยู่บนเส้นทางเดินเรือหลักของโลก กองเรือ
                     ของเราจึงมีขนาดเล็ก ส่วนกองเรือคอนเทนเนอร์ที่เรามีอยู่ก็เป็นเพียงเรือลําเลียง (Feeder)

                     เปรียบเสมือนหนึ่งรถสองแถวที่วิ่งในซอยเท่านั้น

                            โครงการขุดคอคอดกระเพื่อเชื่อมทะเลฝั่งอ่าวไทยกับทะเลอันดามันเข้าด้วยกัน จะทําให้

                     ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่อยู่บนเส้นทางเดินเรือหลักของโลก เพราะสามารถทําให้เรือวิ่งจาก ทาง
                     ยุโรปหรือตะวันออกกลางเพื่อไปทางตะวันออกร่นระยะทางได้ประมาณ 1,450 กิโลเมตร หรือ ทุ่นเวลา

                     เดินทางไปได้ 36 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งนอกจาก จะมีระยะ

                     ทางไกลกว่าแล้ว ยังมีโจรสลัดชุกชุมอีกด้วย



                                                                                           การบรรจุภัณฑ์ 137
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145