Page 137 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 137
▪ Bareboat Charter เป็นการเช่าเหมาเรือเฉพาะตัวเรือเปล่าๆ ไม่รวมลูกเรือ มักเป็น การเช่า
เหมาเรือในระยะเวลาที่ยาวนาน เจ้าของเรือจะรับภาระเฉพาะการหาเรือมาให้แก่ผู้เช่าเรือ ส่วน
ค่าใช้จ่ายในการเดินเรือตลอดจนการทําให้เรือสามารถปฏิบัติงานได้ เป็นภาระของผู้เช่าเรือ
▪ Hybrid Charter เป็นการเช่าเหมาเรือแบบผสมผสานกัน เช่น การเช่าเหมาเรือ เที่ยวเดียว
อย่างต่อเนื่อง และการเช่าเหมาเรือที่ผสมระหว่างการเช่าแบบเที่ยวเดียว และการเช่าแบบ
ระยะเวลา
ค่าระวางเรือ (Freight Change)
เนื่องจากค่าระวางเรือและค่าใช้จ่ายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นอกจากนี้ค่าระวางในเส้น ทาง
เดินเรือเดียวกันของสายเดินเรือต่างๆ ก็อาจไม่เท่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นทางที่มีเรือ นอกชมรม
เดินเรือวิ่งอยู่ในเส้นทางด้วย ดังนั้น ผู้นําเข้าและผู้ส่งออกที่ต้องจ่ายค่าระวางด้วยตนเอง จึงควรจะ
สอบถามค่าระวางจากตัวแทนหรือหลายๆ แห่ง และควรที่จะให้ตัวแทนเรือออกหนังสือ เสนอราคาค่า
ระวางเรือ โครงสร้างค่าระวางเรือของ Liner Term มีลักษณะแตกต่างจาก Charter Term คือ
1. ค่าระวางของเรือ Liner หรือเรือประจําเส้นทาง ค่าระวางของเรือวิ่งประจําเส้นทาง อัตรา
จะขึ้นอยู่กับระยะทางเส้นทางเดินเรือและตารางเวลา เรือวิ่งประจําเส้นทางโดยส่วนใหญ่จะ เป็นเรือที่
เป็นสมาชิกอยู่ในชมรมเดินเรือประจําเส้นทางนั้นๆ เช่น ชมรมเดินเรือเอเชีย-อเมริกาเหนือ (Asia-North
American Eastbound Rate Agreement – ANERA) อัตราก็จะใกล้เคียงกันทั้งหมด แต่ปัจจุบันมีเรือ
ที่อยู่นอกชมรมเดินเรือมากขึ้น เรือเหล่านี้ก็จะมีอัตราค่าระวางต่ํากว่าเรือในชมรม เดินเรือ ค่าระวางของ
เรือวิ่งประจําเส้นทางประกอบไปด้วย
1) อัตราค่าระวางพื้นฐาน (Basic Freight Rate)
2) เงินเก็บเพิ่มค่าปรับอัตราน้ํามันที่เพิ่มขึ้น (Bunker Adjustment Factor Surcharge - BAF)
3) เงินเก็บเพิ่มค่าปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Currency Adjustment Factor Surcharge
CAF)
4) นอกจากค่าระวางเรือแล้ว บริษัทเรื่อยังอาจเรียกเก็บค่าระวางพิเศษต่างๆ หรือค่า ใช้จ่าย
พิเศษที่ต้นทางได้อีกด้วย เช่น
• ค่าขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือ (Terminal Handling Charge - THC)
• ค่าท่าคับคั่ง (Congestion Surcharge)
• ค่าบรรจุสินค้าเข้าคอนเทนเนอร์ (Container Freight Station Charge - CFS
• ค่าออกเอกสาร
การบรรจุภัณฑ์ 134