Page 134 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 134
การแก้ไขและป้องกันความเสียหายจากความชื้นนั้น ทําได้โดยการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ ที่
ป้องกันหรือลดการซึมผ่านของความชื้น (Moisture Vapor Transmission Rate - MVTR) และ การใช้
สารดูดความชื้น (Desiccant) ที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นในอากาศ ทั้งภายในบรรจุภัณฑ์เช่น
อาหารแห้ง ขนม ยา และภายในบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง เช่น กล่องกระดาษ (Carragated 00X,
Carton) ถังไม้ (Wooden crate) ถังกระดาษ (drum) ถังพลาสติก (pale) ถังเหล็ก (steel drum) และ
ตู้คอนเทนเนอร์ (สําหรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ)
รูปที่ 9.2 ตู้คอนเทนเนอร์สําหรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ความชื้น หรือไอน้ำ ในอากาศ เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี สภาพภูมิอากาศที่ร้อนชื้น
โดยทั่วไปของประเทศไทย ทําให้บางครั้งเรารู้สึกไม่ค่อยสบายตัว เนื่องจากร่างกายไม่สามารถ ระบาย
ความร้อนได้ดีเท่าที่ควร ความชื้นนอกจากจะมีผลต่อความรู้สึกของคนแล้ว ยังมีผลโดยตรง ต่อคุณภาพ
และอายุการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน และอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อสินค้าอุปโภค
บริโภคได้โดยง่าย ระดับความชื้นที่สูง ทําให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี อายุของ ผลิตภัณฑ์อาหารและยาสั้น
ลง ความกรอบของขนมขบเคี้ยวลดลง อุปกรณ์ที่เป็นโลหะเป็นสนิมได้ ง่าย ฯลฯ นอกจากนี้ ความชื้น
ก่อให้เกิดอันตรายต่อบรรจุภัณฑ์สินค้าชนิดต่างๆ ได้เช่นกัน ความชื้นที่สูง ทําให้กล่องบรรจุสินค้าขาด
ความแข็งแรง หรือทําให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำตาม พื้นผิวของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะมีผลกระทบ
โดยตรงต่อความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ การป้องกัน ความเสียหายจากความชื้น โดยใช้สารดูดความชื้น
ที่เหมาะสม เป็นการลงทุนที่ต่ำและคุ้มค่าเป็น อย่างมาก อายุการใช้งานของอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายใน
บ้าน รักษาคุณภาพของสินค้าในระหว่าง การจัดเก็บ และขนส่งสินค้า
การบรรจุภัณฑ์ 131