Page 15 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 15

ความตกลงสินค้าเกษตร ได้อนุโลมให้มีการอุดหนุนการผลิตที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้

                     เงื่อนไขบางประการ

                            ความตกลงว่าด้วยอปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า และความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการ

                     สุขอนามัย และสุขอนามัยพืช ยินยอมให้ประเทศต่างๆ กําหนดมาตรการที่จําเป็นแก่ การคุ้มครองชีวิต

                     คน สัตว์ พืช หรือสิ่งแวดล้อมได้ ภายใต้กรอบของความพอเหมาะ พอควร สมเหตุผล และไม่กีดกันทาง
                     การค้า 1


                            ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนฯ อนุญาตให้ความช่วยเหลือ เพื่อปรับปรุงเครื่องมือ โรงงานให้
                     เป็นไปตามกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม จัดเป็นมาตรการที่ไม่ถูกตอบโต้


                            ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) และความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากร และการค้า
                     (GATTS) มีข้อยกเว้นทั่วไปให้จํากัดการนําเข้าได้ หากเข้าข่ายยกเว้นใน มาตรา 14 (b) และมาตรา 20

                     (b) ของทั้งสองความตกลงตามลําดับ กล่าวคือ หากจําเป็น ต้องพิทักษ์ชีวิต ความปลอดภัยของคน สัตว์

                     พืช และพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยต้องไม่เป็นการกีดกันและไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ



                            ประเด็นสิ่งแวดล้อมได้ขยายตัวครอบคลุมเรื่องสุขอนามัยของมนุษย์ และใช้เป็นข้อกําหนด ใน

                     การนําเข้าสินค้ามากขึ้น จนข้อกําหนดเหล่านั้นเป็นอุปสรรคที่แอบแฝง. นําไปสู่การกีดกันทาง การค้า

                     โดยมาตรการกีดกันทางการค้าที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีทั้งที่เป็นมาตรการบังคับและ มาตรการสมัครใจ
                     ซึ่งได้แก่ การห้ามนําเข้า การจํากัดปริมาณ การออกใบอนุญาต การปิดฉลาก ท เรียกว่า Eco-Labeling

                     การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม และการกําหนดมาตรฐานสินค้าบรรจุภัณฑ์ สิ่งเหลือค้างต่างๆ ฯลฯ ซึ่ง

                     มาตรการดังกล่าวข้างต้นสามารถทําได้ หากเข้าข่ายข้อยกเว้นของ GATT/WTO และไม่เลือกปฏิบัติ

                     กฎระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของสหภาพยุโรป

                            1. กฎระเบียบกลาง


                            สหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สินค้าและบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว (European
                     Parliament and Council Directive 94/62/EC of 20 December 1994 on, Packaging and

                     Packaging Waste : PPWD) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2537 (แก้ไข ล่าสุดเมื่อวันที่ 19

                     มีนาคม 2542) มีวัตถุประสงค์ให้ประเทศสมาชิกนํากฎระเบียบกลางดังกล่าวไป พิจารณาตราเป็น
                     กฎหมาย เพื่อบังคับใช้ในประเทศของตน ภายในเดือนมิถุนายน 2539 โดยแต่ละ ประเทศจะออก

                     กฎหมายให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทําให้การค้ามี

                     เอกภาพ ลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้า ตลอดจนจํากัดการแข่งขันในสหภาพฯ และลดปริมาณของ
                     เสีย ด้วยการนําบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิล หรือมาตรการอื่นๆ เพื่อลด การฝังกลบของเสีย


                                                                                            การบรรจุภัณฑ์ 12
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20