Page 20 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 20

ลักเซมเบิร์ก ส่วนเยอรมนีและประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใน กฎหมายของประเทศตน

                     ยกเว้นประเทศกรีซ

                            การบัญญัติกฎหมาย หรือการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายของแต่ละประเทศ ให้สอดคล้อง - กับ

                     กฎระเบียบกลางของสหภาพยุโรป ในด้านการดําเนินการมีความเป็นไปได้ และดําเนินการแล้ว ในหลาย

                     ประเทศ แต่ยังมีข้อขัดแย้งและเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากที่ยังคงมีอยู่ ซึ่งนับว่าเป็น อุปสรรคและ
                     ข้อจํากัดที่สําคัญ ที่ทําให้หลายประเทศไม่สามารถดําเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่ กําหนดไว้ได้

                     กล่าวคือ ให้ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศทบทวนแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ในแต่ละประเทศ

                     ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบกลางให้เสร็จสิ้นในปี 2543 เช่น การกําหนดนโยบาย ส่งเสริมระบบการใช้
                     ซ้ำบรรจุภัณฑ์สําหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ซึ่งนโยบายนี้จะมีผลกระทบต่อ บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้ในตลาดของ

                     สหภาพยุโรป

                            ตัวอย่างอันหนึ่งที่แสดงถึงข้อขัดแย้งหรือข้อแตกต่างในการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ ภายในแต่

                     ละประเทศสมาชิก อันเป็นผลจากความแตกต่างกันทางด้านนโยบายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ในปี

                     2542 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ได้ประกาศคําตัดสิน (Decision) ที่ 19991652/IEC ลงวันที่ 15
                     กันยายน 2542 ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอของเบลเยียม เกี่ยวกับ การประสานงานด้านการป้องกัน

                     และจัดการวัสดุหีบห่อ และวัสดุที่เหลือใช้ (prevention and management of packaging waste)

                     ซึ่งเบลเยียมได้ยื่นเสนอมาตั้งแต่ปี 2538 มีประเด็นสําคัญ สรุปได้ คือ

                            1. ภายใต้ระเบียบกลางสหภาพยุโรปที่ 9462/Ec ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประสาน กฎเกณฑ์

                     ระดับชาติ เกี่ยวกับการจัดการบรรจุสินค้าหีบห่อและวัสดุหีบห่อที่เหลือใช้ ก็เพื่อป้องกัน ผลกระทบทาง
                     ลบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม โดยกําหนดเป้าหมายการเรียกคืนวัสดุบรรจุภัณฑ์ใช้ แล้วในอัตราร้อยละ

                     50 ถึง 65 โดยน้ำหนัก ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544 และกําหนดว่าภายใน ระยะเวลาเดียวกัน

                     จะต้องนําวัสดุบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ ในอัตราร้อยละ 25 ถึง 45 หรืออย่างน้อยร้อยละ 15
                     ของน้ำหนักวัสดุบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วแต่ละชิ้น (each packaging 004 พร้อมกับการจัดตั้งระบบการ

                     ตรวจสอบ (monitoring system) กระบวนการดังกล่าวเป็นระยะๆ

                            2. ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 ประเทศเบลเยียมได้ยื่นเสนอร่างข้อตกล ความร่วมมือ

                     ด้านการป้องกันและจัดการวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว ต่อคณะกรรมาธิการล 0 โดยแจ้งว่าตามกฎหมาย

                     ภายในของเบลเยียม รัฐบาลกลางมีอํานาจหน้าที่เฉพาะประเด็น ภายใต้ระเบียบกลางที่ 94/62IEC ส่วน
                     การตั้งเป้าหมายการเรียกคืนหรือการนํากลับมาใช้ซึ่งวัสด บรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว เป็นอํานาจหน้าที่ของ

                     รัฐบาลระดับท้องถิ่น 3 เขต (คือ Walloon Elands. Brussels) ซึ่งรัฐบาลระดับท้องถิ่นทั้ง 3 เขต เห็น

                     ควรทําข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน กําหนด ให้ผู้ประกอบการ (หมายถึง ผู้นําสินค้าลงบรรจุหีบห่อ
                     หรือผู้นําเข้าในกรณีที่มีการบรรจุสินค้าใน ประเทศที่สาม ที่มิใช่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป) มีหน้าที่


                                                                                            การบรรจุภัณฑ์ 17
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25