Page 24 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 24
และสัตว์ เพื่อจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์สินค้าที่ผลิตในประเทศ และที่นําเข้าจาก ต่างประเทศ เมื่อไม่
สามารถนําบรรจุภัณฑ์กลับออกไปได้ ผู้นําเข้าก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการ กําจัด ผู้นําเข้าจึงผลักภาระ
นี้มายังผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทย หรือขอต่อรองลดราคาสินค้าลง สินค้า จากประเทศไทยจึงมีภาระต้นทุน
การส่งออกสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันส่ง ออกสินค้าของไทย หากสินค้านั้นต้อง
แข่งขันในการส่งออก นอกจากนี้ยังทําให้ประเทศไทยต้อง เสียเปรียบทางการค้ากับประเทศในกลุ่ม
สหภาพยุโรป เนื่องจากสินค้าจากประเทศไทยที่ส่งเข้าไป ในตลาดสหภาพยุโรป จะต้องเสียค่าธรรมเนียม
ในการกําจัดของเสีย แต่สินค้าที่นําเข้าจากสหภาพ ยุโรปมายังประเทศไทยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมอย่าง
เดียวกัน เพราะประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย ดังกล่าว ซึ่งในปีหนึ่งๆ ประเทศไทยนําเข้าบรรจุภัณฑ์สินค้า
จากสหภาพยุโรป โดยเฉลี่ย 8 ล้าน กิโลกรัมต่อปี ในจํานวนนี้ส่วนหนึ่งจะกลายเป็นขยะบรรจุภัณฑ์ ซึ่ง
เป็นหน้าที่ขององค์กรท้องถิ่น
1.3 แม้ว่าผู้นําเข้าสินค้าในสหภาพยุโรปไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก ระเบียบนี้ แต่จะ
ได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่ประเทศสมาชิกตราขึ้นตามข้อกําหนดขอ ระเบียบกลาง ซึ่งแต่ละ
ประเทศจะตรากฎหมายออกมาไม่พร้อมกัน และคิดอัตราค่าจัดการต่างกัน เป็นผลให้บรรจุภัณฑ์ที่วาง
จําหน่ายในประเทศใด จะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของประเทศ นั้นๆ ด้วยเหตุดังกล่าว ย่อมเป็น
ผลให้ผู้ที่นําเข้าสินค้าไปจําหน่ายในประเทศต่างๆ ของสหภาพ ยุโรป มีค่าใช้จ่ายด้านค่าจัดการบรรจุ
ภัณฑ์ใช้แล้ว ซึ่งเป็นต้นทุนการนําเข้าไม่เท่ากัน เกิดความ ยุ่งยากในการคิดต้นทุนนําเข้าหรือส่งออก
1.4 เนื่องจากผู้ส่งออกต้องพิมพ์สัญลักษณ์และเครื่องหมายแสดงการใช้ บริการจัดการขยะ
บรรจุภัณฑ์ขององค์กรที่ตนเองซื้อบริการ ซึ่งการจะนําสัญลักษณ์ลงพิมพ์ ได้นั้น ผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือ
ผู้ค้าปลีก จะต้องซื้อบริการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังใช้ก่อน จึงจะพิมพ์ สัญลักษณ์นั้นได้ ประกอบกับบาง
ประเทศมีสัญลักษณ์ไม่เหมือนกัน อาจเกิดความสับสนและอาจมี การเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งมีสาเหตุ
จากการพิมพ์สัญลักษณ์เพื่อใช้ในประเทศหนึ่ง แต่ไปปรากฏ ในอีกประเทศหนึ่ง
1.5 หากผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกไทยยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบเดิมที่ไม่ คํานึงถึง
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่ประเทศคู่แข่งมีการใช้เทคโนโลยีที่ทัน สมัยใน
กระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์สินค้าเพื่อส่งออกที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน . ประเทศผู้นําเข้าที่ต้องการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก็ทําให้เกิดการเปรียบเทียบ ประเทศผู้นําเข้าจะเลือกสั่งซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่
ตรงกับความต้องการมากที่สุด
1.6 เป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติที่ประเทศไทยจะมีแนวปฏิบัล เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป
เนื่องจากสาเหตุพื้นฐานด้านการศึกษาและวิจัย นโยบายที่ชัดเจนของภาครัฐในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการ
ขยะบรรจุภัณฑ์ นอกจ และจิตสํานึกด้านสิ่งแวดล้อมจะมีเฉพาะในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เท่านั้น ไทย
ยังไม่ค่อยทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้อกําหนด ประกาศ หรือข้อห้ามของแต่ละ ปัญหาที่อาจต้องส่งคืนสินค้า
การบรรจุภัณฑ์ 21