Page 22 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 22

3.3  กรณีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ เบลเยี่ยมมีโรงงานหลายแห่งที่ สามารถนําวัสดุ

                     ดังกล่าวกลับมาใช้ 50,000 ตันต่อปี โดยเฉพาะพลาสติกที่นํากลับมาใช้ได้ในปี 2540 ในปริมาณ 10,000

                     ตัน โดยการนําไปเผาในเตาอบซีเมนต์ ซึ่งก่อให้เกิดพลังงานอีกด้วย และ คาดว่าปริมาณดังกล่าวจะ
                     เพิ่มขึ้นเป็น 60,000 – 80,000 ตันต่อปี


                            3.4   ในปี 2540 เช่นกัน เบลเยียมนําวัสดุกระดาษและไม้กระดานกลับมาใช้ใน ปริมาณ 1 ล้าน
                     ตัน แต่อุตสาหกรรมทั้งสองดังกล่าว ก็ยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบนําเข้าที่ผ่านกระบวน การนํากลับ




                            4. คณะกรรมาธิการฯ ได้ประเมินอัตราการเรียกคืนและการนํากลับมาใช้แล้วพบว่า เนื่องจาก

                     ตลาดเบลเยียมมีขนาดเล็ก ระบบการเรียกคืนและนํากลับมาใช้ของเบลเยียมจะไม่ก่อให้ เกิดการ
                     บิดเบือนทางการค้า แต่ก็เห็นว่าควรก่อตั้งองค์กรเพื่อตรวจสอบระบบดังกล่าวเป็นระยะๆ นอกจากนี้ ยัง

                     ได้พิจารณาถึงอุปสรรคต่อระบบการเรียกคืนหรือนํากลับมาใช้ของประเทศสมาชิกอื่นๆ ขอบเขตของ

                     มาตรการ ตลอดจนข้อกีดกันทางการค้าที่อาจเกิดจากการปกป้องทั้งทางตรงหรือทาง อ้อมของ
                     อุตสาหกรรมการผลิตของใช้แล้วในประเทศสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่ง ในที่สุดคณะ กรรมาธิการฯ

                     เห็นควรให้เบลเยียมนํามาตรการการเรียกคืนและนําวัสดุบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ที่ เสนอมาบังคับใช้ได้

                     และออกประกาศคําตัดสินรับรองการปฏิบัติของเบลเยียม ด้วยเหตุผลดังนี้

                            4.1 เบลเยียมมีความสามารถที่เพียงพอในการเรียกเก็บและนําวัสดุบรรจุภัณฑ์ กลับมาใช้

                            4.2 มาตรการดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดการบิดเบือนทางการค้าในสหภาพยุโรป


                            4.3 มาตรการดังกล่าวไม่เป็นอุปสรรคต่อระบบการเรียกเก็บ และนําวัสดุบรรจุภัณฑ์ กลับมาใช้
                     ของประเทศสมาชิกอื่น


                            4.4 มาตรการนี้ครอบคลุมวัสดุบรรจุภัณฑ์จากทุกแหล่ง

                            4.5 มาตรการนี้จะไม่เป็นข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

                      3. วิเคราะห์กฎระเบียบด้านบรรจุภัณฑ์ของสหภาพยุโรปกับหลักเกณฑ์ของ WTO

                            เมื่อพิจารณากฎระเบียบกลางของสหภาพยุโรป จะเห็นว่า โดยหลักการและกฎระเบียบ

                     ดังกล่าวใช้บังคับกับสินค้าทั่วไปในตลาดสหภาพยุโรป โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าจะมาจากประเทศใด และ

                     หากผู้ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว ก็สามารถจําหน่ายในตลาดได้ ซึ่งไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ สําคัญ
                     ขององค์การการค้าโลก (WTO) ทั้ง 3 ประเด็น คือ









                                                                                            การบรรจุภัณฑ์ 19
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27