Page 21 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 21
เรียกคืนหรือจัดเก็บวัสดที่วางจําหน่าย ด้วย หรืออาจจ้างบุคคลที่สามดําเนินการแทนได้ และได้กําหนด
เป้าหมายการเรียกคืนและนํากลับ มาใช้สูงกว่าที่กําหนดไว้ในระเบียบกลาง คือปี 2541 นํากลับมาใช้
ใหม่ร้อยละ 45 และเรียกคืน ร้อยละ 70
ปี 2542 นํากลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 50 และเรียกคืนร้อยละ 80 คณะกรรมาธิการฯ ได้ เห็นชอบ
ให้บังคับใช้ข้อตกลงดังกล่าวใน 3 เขตของเบลเยียม ในเดือนมกราคม 2539 อย่างไรก็ดี เบลเยี่ยมได้
เสนอร่างข้อตกลงฯ ดังกล่าวต่อคณะกรรมาธิการฯ เพื่อหารือประเทศสมาชิกอื่นๆ ก่อนการตัดสินใจออก
ประกาศคําสั่ง อันเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 6(6) ของระเบียบกลางฯ ดังกล่าว ที่ให้ประเทศ
สมาชิกกําหนดเป้าหมายการเรียกคืน และการนํากลับมาใช้เกินกว่าที่กําหนด ไว้ในระเบียบกลางได้
ต่อเมื่อการกระทําดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความบิดเบือนทางการค้า หรือขัดขวาง ต่อระบบการเรียกคืนหรือ
การนํากลับมาใช้โดยประเทศสมาชิกอื่นๆ ซึ่งผลปรากฏว่าไม่มีประเทศ สมาชิกใดเห็นว่าเบลเยียม
บิดเบือนการค้า หรือส่งผลมิให้ประเทศสมาชิกอื่นดําเนินการตามระเบียบ กลางแต่อย่างใด แต่ผลการ
หารือระหว่างประเทศสมาชิกได้ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคในการประมง การเรียกคืนหรือการนํากลับมาใช้ตาม
การคาดการณ์ เนื่องจากความซับซ้อนของระบบการคาด ระหว่างประเทศ โดยฝรั่งเศสเสนอให้มีการ
จัดตั้งฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการคํานวณเป้าหมายที่ต้อง บรรลุ ในขณะที่สหราชอาณาจักรเสนอว่า ควรนํา
ข้อมูลด้านประวัติราคาและสถิติการนําวัสดุกลม มาเข้ากระบวนการผลิตของทั้งสินค้าที่นําเข้าและ
ส่งออก มาใช้ประกอบการพิจารณาตั้งเป้าหมาย ซึ่งการตั้งเป้าหมายในอนาคตควรสอดคล้องกับแผน
ตรวจพิจารณาเป้าหมายที่ต้องเสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 มกราคม 2544 ตามที่กําหนดไว้ในระเบียบกลาง
เช่นกัน
3. เนื่องจากอาจมีความล่าช้าในการรอคอยข้อมูลตามข้อเสนอของสหราช อาณาจักร
ประกอบกับไม่มีผลกระทบเกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมาธิการฯ จึงไม่เห็นควรให้ เลื่อนระยะเวลา
การออกประกาศคําสั่ง ในส่วนของประเด็นเรื่องอุปสรรคในการประเมินผลนั้น เบลเยียมได้แสดงข้อมูล
สนับสนุนว่า การเรียกคืนหรือนํากลับมาใช้เกินเป้าหมาย จะไม่ส่งผลเสีย ต่อขั้นตอนการดําเนินการของ
ประเทศสมาชิกอื่น กล่าวคือ
3.1 ในปี 2540 เบลเยียมมีการนําวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้วกลับมาใช้ในอัตรา ร้อยละ 55 โดย
ไม่เกิดอุปสรรคจากการรองรับ (absorb) บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้วสีน้ำตาลหรือสีเขียว แต่อย่างใด เพราะ
เบลเยียมมีโรงงานที่นําแก้วกลับมาใช้ในปริมาณ 160,000 ตันต่อปี และมีโรงงาน อีก 5 แห่ง ที่นําแก้ว
ไปใช้เป็นวัสดุลําดับรอง (secondary material)
3.2 กรณีบรรจุภัณฑ์โลหะก็ไม่มีอุปสรรค เนื่องจากเบลเยียมมีความต้องการใช้ โลหะเหล็ก
(ferrous metal) ในปริมาณ 3.5 ล้านตันต่อปี และยังต้องนําเข้าอีก 1.27 ล้านตันต่อปี ส่วนโลหะที่ไม่ใช่
เหล็กมีการนํากลับมาใช้มากกว่า 500,000 ตันต่อปี
การบรรจุภัณฑ์ 18