Page 24 - E-Book รายงานสรุปผลการประชุม
P. 24
รายงานสรุปผล การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองทางสังคม การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ
และกลยุทธ์ที่ดี เพื่อผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะแนวทางจากการถอดบทเรียนของสมาชิกกลุ่ม
๑) การจัดทำาระบบฐานข้อมูลกลางของเด็กและเยาวชน ให้เป็นข้อมูลเดียวกัน (single data)
โดยในระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ ควรมีระบบตารางในการกรอกข้อมูลเป็นแบบฟอร์มเดียวกัน สามารถใช้ข้อมูล
และบูรณาการข้อมูลร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงกันในทุกเรื่อง
เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนทุกคน
ซึ่งข้อดีของการสร้างมาตรฐานข้อมูล การบูรณาการข้อมูลให้เป็นระบบเดียวกัน คือ ทุกกระทรวง
สามารถได้รับประโยชน์จากการดึงข้อมูลออกมาใช้ สำาหรับในกรณีที่เป็นข้อมูลเฉพาะ อาจจะมี password เฉพาะ
ในการเข้าถึงข้อมูล
๒) ภาครัฐดำาเนินการขึ้นทะเบียน ออกบัตรให้เด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสครบทุกคน ในทุกภูมิภาค
โดยการสำารวจข้อมูลตามความเป็นจริง
๓) การพัฒนาระบบงบประมาณสนับสนุนในกรณีพิเศษที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน แต่ไม่สามารถหา
หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงได้ เช่น เด็กที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวและสังคม
๔) ควรมีการบูรณาการการทำางานเพื่อคุ้มครองเด็กจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ NGOs ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ
อย่างเป็นรูปธรรมแท้จริง มิใช่ มีเพียงแผนการดำาเนินการแต่ไม่มีการขับเคลื่อนแผนงาน
๕) หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสำาคัญในประเด็น การให้ความรู้ การให้การคุ้มครอง หรือสวัสดิการ
การดูแลสุขภาพแก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กต่างด้าวที่ยังไม่ได้รับเลขบัตรประชาชน ให้ประชาชน
ได้รับรู้สิทธิและสามารถไปใช้สิทธิได้อย่างทั่วถึง
ทั้งนี้ ผลสำารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งจัดทำาโดยสำานักงานสถิติ
แห่งชาติ ด้วยการสนับสนุนของยูนิเซฟ พบว่า เด็กอายุตำ่ากว่า ๕ ปีเกือบทั้งหมดจดทะเบียนเกิด อย่างไรก็ตาม
พบว่า เด็กต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยมีอัตราการจดทะเบียนเกิดตำ่ากว่าเด็กอื่น ๆ คือ เพียงแค่ร้อยละ ๗๙
เท่านั้น โดยเด็กที่ไม่ได้จดทะเบียนเกิดส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๗๒) แม่หรือผู้ดูแลไม่ทราบว่าหลังจากได้ใบรับรอง
การเกิดจากโรงพยาบาลแล้ว ต้องไปแจ้งเกิดที่อำาเภอด้วยเพื่อขอรับสูติบัตร ทั้งนี้ กฎหมายของไทยกำาหนดไว้
ชัดเจนว่าเด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเกิดและได้รับสูติบัตรแม้ว่าพ่อแม่ของเขา
จะไม่ใช่คนไทยหรือไม่มีสถานะทางกฎหมายที่ถูกต้องก็ตาม การไม่มีสูติบัตรอาจทำาให้เด็กไม่ได้รับสิทธิต่าง ๆ
ที่พึงมี เช่น การรักษาพยาบาลฟรี สวัสดิการสังคมต่าง ๆ และอาจถูกจำากัดการเดินทางนอกเขตอำาเภอที่พวกเขา
อาศัยอยู่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ การที่ไม่มีเอกสารใด ๆ ระบุตัวตน
ทำาให้เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และถูกแสวงประโยชน์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งยากที่จะร้องเรียนเมื่อถูกละเมิดสิทธิ
ข้อสังเกตจากวิทยากรกลุ่ม
ประเด็นการคุ้มครองเด็กและเยาวชน สำาหรับประเทศไทยแม้ว่าจะมีการออกกฎหมายให้สิทธิด้านต่าง ๆ
ครอบคลุมตามสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กและยาวชนที่พึงได้รับ ตามอนุสัญญาสิทธิเด็ก เช่น สิทธิในการได้รับ
การศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม แต่ในทางปฏิบัติสำาหรับเด็กกลุ่มชายขอบที่ไม่มีบัตร เมื่อเรียนจนจบการศึกษา
ขั้นพื้นฐานแล้ว ไม่สามารถไปสมัครเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา หรือไม่สามารถไปสมัครงานได้เนื่องจากไม่มี
บัตรประชาชน
22