Page 25 - วิจัยยยย
P. 25
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามทั้งหมด ท าการเสร็จสอบความสมบูรณ์และความถูกต้อง
ของแบบสอบถามแต่ละชุด จากนั้นจึงน าข้อมูลไปประมวลผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส าเร็จรูปทาง
สถิติ เพื่อค านวณหาค่าสถิติ ที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจของกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่ 1 เป็นค าถามข้อมูลส่วนบุคคล และส่วนที่ 2 เป็นค าถามข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน โดยใช้
สถิติแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 3 เป็นค าถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างช าระกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
(กยศ.) ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่อวัดค่าระดับปัจจัยที่มีผล
ต่อการเกิดหนี้ค้างช าระกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) ใช้ t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง
ระหว่างเพศกับระดับการเกิดหนี้ค้างช าระและใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-Way Analysis
of Variance) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวกับการกู้เงิน กับปัจจัยที่
มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างช าระของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) ที่มีมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป กรณีที่พบ
ความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ได้วิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ โดยใช้วิธี LSD (Least Square
Difference)
ส่วนที่ 4 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด(Open-ended Question) เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับความ
คิดเห็น ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของลูกหนี้ที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการค้างช าระ
หนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) โดยจะน ามาสังเคราะห์เป็นความเรียงและแปลผลการวิเคราะห์
ข้อมูล พิจารณาจากระดับคะแนนเฉลี่ยตามเกณฑ์ 5 ระดับ ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2535:100)
ค่าเฉลี่ย 4.51 - 5.0 หมายถึง ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.51 - 4.50 หมายถึง ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51 - 3.50 หมายถึง ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 - 2.50 หมายถึง ความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 หมายถึง ความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด
17