Page 4 - แผนกลยุทธ์2562-2565
P. 4
บทนํา
ความเป็นมา
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูชุมพร จํากัด ได้จดทะเบียนก่อตั้งตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 เมื่อวันที่
11 กุมภาพันธ์ 2500 ปัจจุบันสํานักงานตั้งอยู่ ณ อาคารเลขที่ 19/3 ม.4 ถ.ชุมพร-ระนอง ต.วังไผ่
อ.เมือง จ.ชุมพร 86190 ในการริเริ่มก่อตั้งมีสมาชิกร่วมก่อตั้งจํานวน 256 คน นอกจากนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู
ชุมพร จํากัด ยังจัดตั้งสาขาเพิ่มอีก 4 สาขา คือ
1. สาขาเมืองชุมพร ให้บริการสมาชิก อําเภอเมืองชุมพร
2. สาขาหลังสวนให้บริการ กับสมาชิก อําเภอทุ่งตะโก พะโต๊ะ หลังสวน และละแม
3. สาขาสวี ให้บริการกับสมาชิกในเขตอําเภอ สวี และทุ่งตะโก
4. สาขาท่าแซะ ให้บริการกับสมาชิกในเขตอําเภอท่าแซะ และปะทิว
สหกรณ์มีความก้าวหน้ามั่นคงเป็นที่เชื่อมั่น และศรัทธาของสมาชิกและบุคคลทั่วไป
ในการบริหารสหกรณ์ มีโครงสร้างการบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการ มีคณะกรรมการ
ดําเนินการซึ่งมาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่เป็นฝ่ายบริหาร มีจํานวน 15 คน กําหนดโครงสร้างการบริหาร
เป็น ประธานกรรมการ 1 คน รองประธานกรรมการ 4 คน เหรัญญิก 1 คน เลขานุการ 1 คน ที่เหลือเป็น
กรรมการ นอกจากนั้นยังแบ่งคณะกรรมการดําเนินการ ตามภาระหน้าที่ออกเป็น 3 คณะ ประกอบด้วย
คณะกรรมการอํานวยการ คณะกรรมการศึกษาประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการเงินกู้ มีฝ่ายจัดการเป็นฝ่าย
ปฏิบัติงาน ซึ่งมีผู้จัดการเป็นผู้บังคับบัญชา และรองผู้จัดการมีอํานาจรองลงมา แบ่งงานภายในออกเป็น 5 ฝ่าย
ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี และฝ่ายคอมพิวเตอร์ โดยมีผู้ตรวจสอบ
กิจการ จํานวน 5 คน มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ ทําหน้าที่ตรวจสอบการดําเนินการของสหกรณ์ เพื่อ
รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการดําเนินการประจําเดือน และรายงานต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจําปี ทั้งนี้อยู่
ภายใต้ พ.ร.บ.สหกรณ์ฯ และข้อบังคับสหกรณ์ฯ
หลักการสหกรณ์ (Cooperative Principles)
หลักการสหกรณ์ คือ แนวทางที่สหกรณ์ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้คุณค่าของสหกรณ์เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่ง
ประกอบด้วยหลักการที่สําคัญรวม 7 ประการ ดังนี้
หลักการที่ 1 การเป็ นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิ ดกว้าง (Voluntary and Open Membership)
สหกรณ์ เป็นองค์การแห่งความสมัครใจ เปิดรับบุคคลทั่วไปที่สามารถใช้บริการสหกรณ์ได้ และเต็มใจจะ
รับผิดชอบในฐานะสมาชิก เข้าเป็นสมาชิกโดยปราศจากการกีดกันทางเพศ ฐานะทางสังคม เชื้อชาติ การเมือง
หรือศาสนา
หลักการที่ 2 การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย (Democratic Member Control)
สหกรณ์ เป็นองค์การประชาธิปไตยที่มีการควบคุมโดยสมาชิก ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในการกําหนด
นโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นผู้แทนสมาชิก ต้อง
รับผิดชอบต่อสมาชิก ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิ์ในการออกเสียงเท่าเทียมกัน ( สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง )
สําหรับสหกรณ์ในระดับอื่นๆ ก็ดําเนินการตามแนวทางประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน