Page 34 - YEC M
P. 34

ศิลปะอัตลักษณ์ใหม่ของสารคาม


                                                                            กระติ๊บข้าว  เครื่องจักสานที่มีอยู่คู่บ้านของทุกครัวเรือนในชุมชนคนกินข้าว
                                                                    เหนียวท�าหน้าที่เป็นภาชนะใส่อาหารมาแล้วกี่พันปีคงไม่มีใครสืบค้นทราบได้  แต่เมื่อ
                                                                    สิบกว่าปีมานี้นี่เองหน้าที่ของมันได้เปลี่ยนไป  เหตุเกิดที่บ้านหนองโนใต้  อ.นาดูน
                                                                    จ.มหาสารคาม เมื่อครูหนุ่มนาม “ครูเซียง” หรือคุณครูปรีชา  การุณ ครูสอนศิลปะ
                                                                    ของโรงเรียนในพื้นที่  จู่ๆวันนึงครูเซียงก็ได้สังเกตุเห็นว่าเวลาที่กระติ๊บข้าวถูกเปิดๆ
                                                                    ปิดๆขึ้นลงเพื่อล้วงจกข้าวเหนี่ยวนั้น  ฝาด้านบนและด้านล่างของมันมีลักษณะคล้าย
                                                                    ปากของคนที่ก�าลังพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวบางอย่าง  ด้วยความเป็นศิลปินครูเซียงจึง
                                                                    ได้แต่งแต้มหน้าตาให้มันใส่แขนขาและล�าตัวตามจินตนาการ จนกระติ๊บข้าวธรรมดาๆ
                                                                    ได้กลายมาเป็นหุ่นเชิดหน้าตาแปลกๆอย่างที่เห็น แถมเครื่องแต่งกายที่หุ่นเหล่านี้สวม
                                                                    ใส่  คนทั่วไปก็บอกได้ทันทีว่ามันมาจากที่ราบสูงภาคอีสาน  ครูเซียงได้เชิญชวนเด็กใน
                                                                    ละแวกโรงเรียนมาลองเรียนเชิดหุ่นและหัดร้องล�าเป็นท�านองหมอล�า  หัดเล่นเครื่อง
                                                                    ดนตรีด้วยพิณด้วยแคนแบบอีสานดั้งเดิม จนการฝึกซ้อมลงตัวการแสดงจึงเกิดขึ้น เริ่ม
                                                                    ต้นจากการแสดงเปิดหมวกหาทุนไปเรื่อยๆจนมีทุนสร้างโรงละครเป็นของตนเอง
                                                                    แสดงไปเรื่อยๆจนคณะด้านการละครของทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัย
                                                                    มหาสารคามเข้ามาร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านต่างๆ  แสดงไปเรื่อยๆจนได้มีโอกาส
                                                                    โชว์ในงานหุ่นอาเซียน จนมีหนังฉายโรงเป็นของตนเอง แสดงไปเรื่อยๆจนในที่สุดพวก
                                                                    เขาได้แสดงเป็นโชว์เปิดงานในเวทีหุ่นละครโลกไปแล้ว  คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม
                                                                    “คณะหมอล�าหุ่นเด็กเทวดา”  ซึ่งกาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าเด็กๆคณะนี้นั้นเก่งสมชื่อ
                                                                    ช่วงปีหลังๆสื่อแขนงต่างๆได้ให้ความสนใจหุ่นกระติ๊บคณะนี้ชนิดว่าออกสื่อแทบจะ
                                                                    ครบทุกช่องแล้ว   ท�าให้คนภายนอกรู้ว่าจังหวัดมหาสารคามได้ถือก�าเนิดศิลปะการ
                                                                    แสดงที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะของสารคามขึ้นมาแล้วและตอนนี้ชาวมหาสารคามทุก
                                                                    ภาคส่วนก�าลังระดมก�าลังพลักดันสิ่งที่ครูเซียงเริ่มไว้ให้เป็นสมบัติด้านศิลปวัฒนธรรม
                                                                    ประจ�าจังหวัดมหาสารคามสืบต่อไป
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39