Page 6 - geographychalisa
P. 6

6


                  5. ครูน าข่าวหรือภาพการติดต่อกับเพื่อนบ้านที่มีดินแดนติดต่อกัน เช่น การเข้ามาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค

                  ของชาวลาว ตลาดโรงเกลือ ลูกเรือประมงชาวพม่าที่จังหวัดระนอง ธุรกิจบริเวณชายแดน เป็นต้น และให้

                  นักเรียนที่มีประสบการณ์เคยไปเที่ยวบริเวณชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมาเล่าประสบการณ์ให้เพื่อน

                  ฟัง ครูตั้งค าถามเพื่อให้นักเรียนได้เล่าประสบการณ์ให้มากที่สุดแล้วสรุปให้นักเรียนเข้าใจว่า การที่ประเทศ
                  ไทยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านท าให้บริเวณนี้ มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่น ารายได้เข้าประเทศ

                  มหาศาลแต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสีย คือ มีการลักลอบกระท าการที่ผิดกฎหมาย เช่น ขนส่งยาเสพติด ขน

                  ของหนีภาษี เป็นช่องทางหลบหนีของผู้กระท าโจรกรรมรถแล้วส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
                  6. ครูตั้งค าถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนฝึกการคิดวิเคราะห์   ตัวอย่างค าถาม  เช่น

                      - จากท าเลที่ตั้งของประเทศไทยท าให้มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไร

                      แล้วครูสรุปประเด็นส าคัญและสรุปความรู้ให้นักเรียนฟัง
                  7. นักเรียนจับคู่กันและช่วยกันท าใบงานที่ 1.1 เรื่อง ท าเลที่ตั้งของประเทศไทย แล้วครูและนักเรียนช่วยกัน

                  เฉลยค าตอบของใบงานและสรุปความรู้เกี่ยวกับที่ตั้ง รูปร่างของประเทศไทย



                  ชั่วโมงที่ 2
                  1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศของท้องถิ่นหรือชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ว่ามีลักษณะ

                  ภูมิประเทศเป็นอย่างไร เช่น

                      - เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น ้าไหลผ่าน
                      - เป็นพื้นที่ราบ มีทุ่งนาอยู่รอบชุมชน

                      - เป็นภูเขาสูง เป็นต้น

                  2. ครูน าแผนที่ประเทศไทยแสดงลักษณะภูมิประเทศให้นักเรียนดู แล้วถามนักเรียนเกี่ยวกับ ลักษณะทาง

                  กายภาพของประเทศไทย ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ลักษณะภูมิประเทศไทยแต่ละพื้นที่มีความแตกต่าง
                  กัน เพื่อเป็นการสะดวกในการศึกษาลักษณะทางกายภาพจึงได้มีการแบ่งภาคของประเทศไทยตามภาค

                  ภูมิศาสตร์ ออกเป็น 6 ภาค โดยแบ่งตามลักษณะพื้นที่เป็นหลัก ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก

                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ โดยในแต่ละภาคจะมีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
                  3. ครูให้นักเรียนดูแผนที่ แล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกลักษณะภูมิประเทศเด่นในแต่ละภาค ให้นักเรียน

                  ช่วยกันบอกทีละภาค โดยครูเป็นคนตั้งค าถามเป็นรายภาค และสุ่มเรียกให้นักเรียนตอบ เพื่อให้นักเรียนได้มี

                  ส่วนร่วมมากที่สุด
                      - ตัวอย่างค าถามภาคเหนือ เช่น ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศเด่นอย่างไร

                        แนวการตอบ    เป็นภูเขาสลับซับซ้อนต่อเนื่องเป็นทิวเขาวางตัวตามแนวทิศเหนือลงไปทางทิศใต้มีหุบ

                  เขา
                      - ตัวอย่างค าถามภาคกลาง  เช่น  ภาคกลางมีลักษณะภูมิประเทศเด่นอย่างไร

                        แนวการตอบ    มีลักษณะเป็นที่ราบแอ่งกระทะ ตอนกลางมีแม่น ้าไหลผ่าน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11