Page 140 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 140

135





           ในระดับศีลธรรมเต็มไปหมด และยัง เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้พุทธศาสนาสูญหายไปจากอินเดียอีก

           ด้วย

                         นิกาย นิกายใหญ่ ๆ ของศาสนาฮินดูมีอยู่ 6 นิกาย คือ

                         (1) นิกายไวศณพ ซึ่งนับถือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุด
                         (2) นิกายไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด (พวกนี้เรียกว่าพวกลิ้งค์ยัติซึ่ง

           นิยม พกลึงค์เล็ก ๆ คาดไว้ที่เอว)

                         (3) นิกายศักติ ซึ่งพวกนี้นับถือลักษณะสตรีเพศคือนับถือมเหสีของพระวิษณุ คือเจ้า
           แม่ กาลี ในฝ่ายที่ดุร้าย

                         (4) นิกายคณพัทยะ ซึ่งนับถือพระพิฆเณศที่มีเศียรเป็นช้าง

                         (5) นิกายสรภัทธะ ซึ่งนับถือบูชาพระอาทิตย์เป็นเทพเจ้าสูงสุด
                         (6) นิกายสมารธะ ซึ่งเป็นนิกายที่นับถือเทพเจ้าทุกองค์

           จุดหมายสูงสุด จุดหมายสูงสุดของศาสนาฮินดูคือการได้กลับไปรวมอยู่กับพรหมหรือ ปรมาตมัน ซึ่ง

           ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดให้เป็นทุกข์อีกต่อไป ส่วนจุดหมายรองลงมาคือการได้ขึ้นสวรรค์เสพ สุขอยู่
           กับนางฟ้าบนสวรรค์นาน ๆ โดยไม่ต้องทํางาน

           ความเชื่อและหลักปฏิบัติ ชาวอินเดียจะมีการแบ่งผู้คนออกเป็นพวก ๆ หรือวรรณะ ตามความเชื่อ

           จากศาสนาฮินดูคือ

                         (1) วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะสูงสุด ได้แก่พวกผู้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
                         (2) วรรณะกษัตริย์ ได้แก่พวกกษัตริย์ผู้ปกครองบ้านเมือง

                         (3) วรรณะแพศย์ ได้แก่พวกพ่อค้า ช่างฝีมือ

                         (4) วรรณะศูทร ได้แก่พวกคนใช้



                         ชาวอินเดียจะยึดถือเรื่องวรรณะกันมาก ถ้าใครแต่งงานกันต่างวรรณะ ลูกออกมาจะ

           เป็น พวกจัณฑาล ซึ่งเป็นคนชั้นต่ําสุดที่สังคมรังเกียจ ส่วนวรรณะพราหมณ์ที่ถือว่าเป็นวรรณะสูงสุด

           เพราะเขา ถือว่าพราหมณ์เกิดมาจากพรหม หลักปฏิบัติของศาสนาฮินดูนั้นก็มีหลักศีลธรรมอยู่
           มากมาย แต่เน้นไปที่ การบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือ และยังมีความอดทนที่จะรับความทุกข์ยากโดยไม่

           คิดจะปรับปรุงแก้ไข เพราะถือ ว่านี่เป็นกรรมของตนหรือเป็นพรหมลิขิตไม่สามารถหลีกหนี้ได้ ไม่มี

           ใครจะมาช่วยเหลือได้ จึงทําให้เกิดความ นิ่งดูดายหรือใจดําไม่ค่อยจะมีใครช่วยเหลือใคร เพราะถือ
           ว่าเป็นกรรมของเขาเองที่ทําไว้ในชาติก่อน ส่วน คนที่ไปช่วยก็ช่วยเพราะอยากให้ตนมีสภาพชีวิตที่ดี

           ขึ้น ไม่ได้ช่วยเพราะความสงสารอย่างแท้จริง
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145