Page 144 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 144
139
7.2.2 หลักธรรมที่สําคัญของศาสนาพุทธ
1. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ ความจริงที่ทําให้ผู้
เข้าถึง กลายเป็นพระอริยะ เป็นผู้ประเสริฐได้ อริยสัจ 4 ประกอบด้วย
(1) ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความเศร้าโศก
เสียใจ เป็นสภาพบีบคั้นจิตใจและร่างกายให้ทนได้ยาก เมื่อทุกข์เกิดขึ้น บุคคลจะไม่สามารถละหรือ
คลายทุกข์ได้ ทุกข์จึงเป็นสภาวะที่จะต้องกําหนดรู้เพียงอย่างเดียวว่านี่คือความทุกข์หรือปัญหาและ
ต้องยอมรับ ความเป็นจริงว่าเป็นธรรมดาของสัตว์โลกต้องปล่อยวางจึงจะทําให้ทุกข์บางเบาลงได้
(2) สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) หมายถึง ต้นเหตุที่ทําให้เกิดทุกข์หรือปัญหาหรือความ
ต้องการหรือความอยาก ที่เรียกว่า “ตัณหา” ความอยากเกินควรหรือความทะยานอยากของจิต
ทําให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกําหนดด้วยอํานาจความเพลิดเพลินอย่างหลงระเรง
เนลงหกอเห้เกิด ความกําหนัดรักใคร่นั้น ๆ มี 3 ประการ คือ
(ก) กามตัณหา คือ ความปรารถนาในกามไม่หยุดหย่อน หรือความทะยานอยากใน
สิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่ อยากได้ อยากมี
(ข) ภวตัณหา คือ อยากเป็น ไม่เพียงพอ หรือความทะยานอยากในความอยากเป็น
นั่นอยากเป็นนี่
(ค) วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมีไม่อยากเป็นจนทุกข์หรือความทะยานอยากใน
ความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็น
(3) นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) หมายถึง สภาวะที่ทุกข์หมดสิ้นไป สภาพที่ปราศจาก
ทุกข์ มีแต่ความสงบร่มเย็น สภาวะที่จัดเป็นนิโรธนี้ถือเป็นที่สูงสุดในการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธ
เป็นยอด ปรารถนาของคนทั่วไปคือความดับทุกข์
(4) มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่
มรรคมีองค์ 8 ประการ มีสัมมาทิฐิ คือความเห็นชอบ เป็นต้น โดยมรรคทั้ง 8 ประการนี้บุคคล
จะต้องปฏิบัติ ให้เกิดมีขึ้นในตนครบทั้ง 8 ประการจึงสามารถถึงความดับทุกข์ได้
คุณค่าของอริยสัจ 4 อริยสัจ 4 ไม่เพียงแต่เป็นหลักความจริงอันประเสริฐ เป็นหลัก
แห่ง เหตุและผล แต่ยังถือว่าเป็นหลักการสําคัญในการแก้ปัญหาชีวิตอีกด้วย เช่น นิกรเสียใจเพราะ
สอบวิชา คณิตศาสตร์ไม่ผ่าน เมื่อนําหลักการแก้ปัญหาแบบอริยสัจมา แก้ปัญหาดังกล่าวก็ได้ดังนี้
เมื่อเกิดความเสียใจเพราะสอบไม่ผ่าน (ทุกข์) ก็จะต้องพิจารณาว่าเกิดจากสาเหตุใด
ซึ่งในที่นี้ได้แก่ความอยากสอบผ่าน (ตัณหา) หากต้องการหายจาก (ทุกข์) ก็ต้องดับความอยาก
(วิภวตัณหา) โดยหาสาเหตุของการสอบไม่ผ่าน