Page 149 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 149

144





                                 การรู้เรื่องที่ตัวเองมี หมายความว่า รู้ฐานะของตัวเอง เช่น รู้ว่าเรามีความรู้

           เพียงใด มีกําลังกายเพียงใด มีรายได้เพียงใด มีศีลธรรมเพียงใด มีอํานาจหน้าที่เพียงใด เป็นต้น คน

           ที่ไม่รู้จักภาวะ และฐานะของตน มักจะทําตัวไม่เหมาะสม ได้รับคําตําหนิติเตียน ส่วนคนที่รู้ภาวะ

           และฐานะของตน จะ ประพฤติตนเหมาะสมกับภาวะและฐานะนั้น ๆ
                                 (4) มัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักประมาณมัตตะ แปลว่า ประมาณ

           หมายถึง ความพอดี ความเหมาะสม ความสมควร มัตตัญญตา จึงหมายถึง ความรู้จักพอดีในกิจที่

           ทําและเรื่องที่พูด
                                 ลักษณะของความพอดี คือ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป แต่ความพอดีของ

           แต่ละคน ไม่เท่ากัน เช่น การบริโภคอาหาร การใช้ความพยายาม การยกของหนัก เป็นต้น แต่ละ

           คนจึงต้องรู้จัก ประมาณ คือ ความพอดีของตนเอง ส่วนการพูดพอจะกําหนดความพอดีได้ด้วยเรื่อง
           ที่พูด เวลาที่พูด และ ความสนใจของผู้ฟัง ถ้าพูดมากจนไม่มีใครฟังแล้วถือว่าเกินพอดี ถ้าพูดน้อย

           เกินไปจนไม่ก่อให้เกิดความ เข้าใจแก่ผู้ฟัง ก็ถือว่าขาดความพอดีเช่นกัน

                                 (5) กาลัญญตา คือ ความเป็นผู้รู้จักกาล หมายถึง การรู้จักเวลา ได้แก่ การรู้
           เรื่องเวลา การรู้ค่าของเวลา และการรู้จักใช้เวลา การรู้เรื่องเวลา คือ รู้เวลาเช้า สาย บ่าย เย็น

           กลางวัน กลางคืน วัน เดือน ปี และรู้ว่าตนควรทําอะไรในเวลาใดจึงจะถูกต้องเหมาะสม การรู้ค่า

           ของเวลา คือ รู้ว่าชีวิตและการงาน ของตนอยู่ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของเวลา พระพุทธเจ้าทรง

           สอนให้ระลึกถึงความสําคัญของเวลาว่า กาลเวลาย่อมกินชีวิตของสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง และวัน
           คืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทําอะไรอยู่ ซึ่งหมายความ ว่า เวลาล่วงไป ชีวิตของคนเราก็สั้นลงเรื่อย ๆ เรา

           ทํางานประสบความสําเร็จอะไรบ้าง ถ้ายังไม่ประสบ ความสําเร็จ ก็เร่งมือให้ประสบความสําเร็จเสีย

           การรู้จักใช้เวลา มีหลักที่ควรคํานึงอยู่ 4 ประการ คือ ทํา ทันเวลา ทําถูกเวลา ทําตามเวลา และทํา
           ตรงเวลา

                                 (ก) งานที่มีกําหนดเวลา เช่น การทํานา การสอนนักเรียน เมื่อทําตาม

           กําหนด เรียกว่า ทําทันเวลา

                                 (ข) งานบางอย่างขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส เช่น โอกาสควรพูดในที่
           ประชุมควรพูดประเด็นก่อนหลัง เมื่อทําในจังหวะที่เหมาะสม เรียกว่า ทําถูกเวลา

                                 (ค) งานบางอย่างต้องทําตามเวลาที่กําหนดไว้อย่างเคร่งครัด ทําในเวลาอื่น

           ไม่ได้ เช่น ทําพิธีบูชาในวันมาฆบูชาวันวิสาขบูชาเมื่อทําตามวันที่กําหนดนั้น เรียกว่าทําตามเวลา
           เป็นต้น
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154