Page 153 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 153
148
(4) สัมมากัมมันตะ (การประพฤติชอบ) ได้แก่ การกระทําที่ไม่เบียดเบียน
ตนเองและ ผู้อื่น เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
(5) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ) หมายถึง การเลี้ยงชีพด้วยการ
ประกอบอาชีพสุจริต ไม่ประกอบอาชีพทุจริต ค้าอาวุธ ค้ายาเสพติด ฆ่ามนุษย์ เป็นต้น
(6) สัมมาวายามะ (การเพียรชอบ) การสะสมความเพียรพยายามไม่ให้เกิด
ความชั่วขึ้น ในจิต ละความชั่วที่เกิดขึ้นให้หมดไป สร้างความดีขึ้นมาเพิ่ม แล้วรักษาความดีที่มีอยู่
แล้วให้คงอยู่ตลอดไป
(7) สัมมาสติ (การตั้งสติชอบ) หมายถึง การมีความระลึกรู้ตัวหรือระลึกรู้
กาย ทําให้เกิด ประโยชน์ คือ สามารถควบคุมสภาพจิตใจให้อยู่ในภาวะที่ต้องเป็นตัวของตัวเองโดย
ไม่ยึดติดกับปัญหาอุปทานสามารถทําพฤติกรรมต่างๆด้วยเหตุผลของตัวเอง
(8) สัมมาสมาธิ (การตั้งมั่นชอบ) หมายถึง การมีจิตใจแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่ง
หนึ่ง ไม่ ฟุ้งซ่าน ลังเลสงสัย ทําให้กิเลสต่าง ๆ สงบไป
(9) ไตรสิกขา
ไตร แปลว่า สามไตรสิกขา ประกอบด้วย สิกขา 3 ได้แก่ ศีลสิกขา สมาธิ
สิกขา และ ปัญญาสิกขาบางที่ใช้คําว่าศีล สมาธิปัญญาไตรสิกขานี้มีไว้เพื่อดับทุกข์สิกขาเป็นภาษา
บาลีเป็นคําเดียวกับคําว่า ศึกษาในภาษาสันสกฤตคําว่าศึกษาในทางธรรมไม่ได้หมายถึงการเล่า
เรียนท่องตราความรู้อย่างที่เข้าใจกันในทางโลกแต่หมายถึงการลงมือ ปฏิบัติที่เป็นการอบรมกาย
วาจาใจโดยตรงคืออบรมตนเองให้เปลี่ยนจากลักษณะหนึ่งไปสู่อีกลักษณะหนึ่งตามที่เห็นว่าเป็น
ประโยชน์ยิ่งขึ้นไป
ไตรสิกขา คือ หลักการพัฒนาชีวิต เพื่อให้ประสบความสําเร็จเป็นคน
สมบูรณ์แบบตาม แนวพุทธไตรสิกขาจึงจัดอยู่ในมรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) คือควรทําให้เกิดขึ้นเพื่อ
ใช้เป็นเครื่องพัฒนาชีวิตไตรสิกขา แปลว่า สิกขาหมายถึงข้อปฏิบัติที่จะต้องศึกษา 3 อย่าง คือ
(1) ศีลสิกขา คือ ศีลอันยิ่ง
(2) สมาธิสิกขา คือ จิตอันยิ่ง หมายถึง สมาธิ
(3) ปัญญาสิกขา คือ ปัญญาอันยิ่ง
ไตรสิกขากับการดําเนินชีวิตของชาวพุทธ
ศีลสิกขา คือ การศึกษาเรื่อง ศีล อันได้แก่ เจตนาที่จะงดเว้น ไม่ละเมิด
ข้อความทางกาย วาจา และใจ อาจกล่าวได้ว่าต้องพัฒนาในเรื่องของพฤติกรรมโดยเน้นส่วนสําคัญ
ดังนี้