Page 151 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 151

146





                                 (6) ปริสัญญตา คือ ความเป็นผู้รู้จักชุมชน หมายถึง การรู้จักสังคม กลุ่มชน

           หรือหมู่หนึ่ง คณะหนึ่ง กลุ่มชนนั้น ๆ มีขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีแตกต่างกัน เช่น พวก

           นักศึกษา พวกทหาร พวกตํารวจพวกชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น พวกพระภิกษุเป็นต้นผู้ฉลาดจะเข้าสู่

           สังคมใด ต้องศึกษาธรรมเนียมของสังคมนั้นก่อนแล้วปรับตัวเข้ากับเขาแต่พอดีพองามในทํานองเข้า
           เมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตามพอให้ไม่ เก้อ ไม่เป็น ไม่เป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของคนในสังคมนั้น ๆ

           แต่ไม่จําเป็นต้องยอมรับขนบธรรมเนียมของเขามาเป็นของตน

                                 (7) บุคคลปโรปรัญญตา คือ ความเป็นผู้รู้จักบุคคลแต่ละคน เรียกสั้น ๆ ว่า
           บุคคลญญตา หมายความว่า รู้จักบุคคลแต่ละคน เพื่อเลือกปฏิบัติต่อคนนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องการ

           เลือกคบคนนั้น ต้องดูให้รู้ว่าใครเป็นคนดี ใครเป็นคนชั่ว สิ่งที่ต้องดูคือ กายกรรม และวจีกรรม ของ

           บุคคลนั้น ๆ อันจะสะท้อนให้ทราบถึงมโนกรรม อุปนิสัย และอัธยาศัย ถ้าเขาชอบทํากายทุจริต พูด
           วจีทุจริต ก็สันนิษฐานได้ว่า ความคิดของเขาก็เป็นมโนทุจริตเช่นกัน คนเช่นนั้นไม่ควรคบ ตรงกัน

           ข้าม ถ้าเขาทําแต่กายสุจริต พูดวจีสุจริต ก็แสดงว่าความคิดของเขาเป็นมโนสุจริต คนเช่นนั้นคบได้

           การคบ นั้นมีหลายฐานะ เช่น คบเป็นมิตร คบเป็นครู เป็นศิษย์ คบเป็นเจ้านาย ลูกน้อง คบเป็น
           สามี ภรรยา ซึ่งต้องดู ให้เหมาะสมฐานะนั้น ๆ การรู้จักคนเพื่อประโยชน์ในการปกครอง นอกจากดู

           ว่าใครเป็นคนดี ไม่ดี แค่ไหน เพียงไรแล้ว ต้องดูความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ สุขภาพกาย

           สุขภาพจิต การชอบสังคมหรือไม่ชอบ สังคมของเขาด้วย เพื่อจะใช้คนให้ถูกกับงาน จะช่วยให้งาน

           สําเร็จเรียบร้อย และเป็นที่พอใจด้วยกันทุกฝ่าย
                         (8) มรรค คือ ทางดับทุกข์หรือแนวทางการแก้ปัญหาซึ่งมีข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ

           ทุกข์อยู่ 8 ประการ เรียกว่า มรรค 8 หรือ มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลางซึ่งประกอบด้วย

                                 (1) สัมมาทิฏฐิ (การเห็นชอบ) คือเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เห็นว่าทําดี
           ได้ดี ทําชั่ว ได้ชั่ว เป็นต้น

                                 (2) สัมมาสังกัปปะ (การดําริชอบ) คือ การนึกคิดในสิ่งที่ถูกต้องคิดที่จะ

           ปราศจากโลภ พยาบาท ปองร้ายผู้อื่นและไม่เบียดเบียนผู้อื่น

                                 (3) สัมมาวาจา (การเจรจาชอบ) ได้แก่การพูดด้วยถ้อยคําที่ไม่มีโทษหรือคํา
           สุภาพจะเว้นการพูดเท็จพูดส่อเสียดพูดคําหยาบพูดคําหยาบพูดเพ้อเจ้อพูดให้แตกความสามัคคี
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156