Page 154 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 154
149
(1) พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือโลกแห่งวัตถุ
รู้จักใช้อินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กายในการรับรู้โดยไม่เกิดผลเสียหรือเกิดโทษ แต่ให้เกิดผลที่ส่งเสริม
คุณภาพชีวิต
(2) พฤติกรรมที่สัมผัสกับสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางโลกและโลกแห่งชีวิต
เช่น การอยู่ร่วมกันในทางสังคมและโลกแห่งชีวิต เช่น การอยู่ร่วมกันในทางสังคมโดยไม่เบียดเบียน
ก่อความทุกข์ความเดือดร้อยแต่รู้จักความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนมนุษย์ช่วยดํารงชีวิตในกรอบของศีล
(3) พฤติกรรมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การเลี้ยงชีพอย่างมีศิลปวิทยา ใน
วิชาชีพที่ ฝึกได้อย่างดี มีความชํานาญที่จะปฏิบัติให้ได้ผลดีและสัมมาอาชีพมีชีวิตไปเพื่อทาง
สร้างสรรค์ทําให้เกิด ประโยชน์เกื้อกูล ที่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของคนสมาธิสิกขา คือ การศึกษา
เรียนรู้เรื่องจิตให้เข้าใจธรรมชาติของจิต การทํางานของจิตรู้ วิธีการพัฒนาจิตเพื่อให้สงบตั้งมั่น เป็น
สมาธิพร้อมที่จะทํากิจหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านการพัฒนาจิตหรือที่เรียกว่าสมาธิ
(1) คุณภาพจิต ได้แก่คุณธรรมคุณงามความดี เช่น เมตตา กรุณา กตัญญู
กตเวทีคารวะหิริโอตตัปปะ หล่อเลี้ยงจิตใจให้เจริญงอกงามเป็นพื้นฐานของพฤติกรรมที่ดีงาม
(2) สมรรถภาพจิต ได้แก่ ความสามารถของจิตที่เข้มแข็ง มั่นคงหรือความมี
ประสิทธิภาพของจิต เช่น มีฉันทะความใฝ่รู้ใฝ่ดีงามใฝ่กระทําจิตมีความเพียร ความขยัน ความ
อดทน มีความระลึกได้ รู้ตัวทั่วพร้อม ตื่นตัวอยู่เสมอ สามารถความควบคุมตัวเองได้ สงบเป็นสมาธิ
ใช้ปัญญาในการดํารงชีวิต
(3) สุขภาพจิตได้แก่สภาพจิตปราศจากความขุ่นมัวเศร้าหมองมีความสดชื่น
ร่าเริงเบิกบานผ่อนคลายเป็นสุขจะสิ่งผลต่อสุขภาพกายทําให้เกิดเกิดพฤติกรรมที่ดีงาม
ปัญญาสิกขา คือ การศึกษาปัญญา พัฒนาปัญญาในการพัฒนาปัญญา จะ
มีการพัฒนาหลายระดับ ดังนี้
(1) ความรู้ความเข้าใจในสิ่งได้ยินได้ฟังมาจากการเล่าเรียนรับการถ่ายทอด
ศิลปะวิทยาการอย่างมีประสิทธิภาพ