Page 156 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 156
151
10. ไตรลักษณ์ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงประกอบอยู่ด้วยลักษณะอันเรียกว่า ไตรลักษณ์
หรือ ลักษณะ 3 ประการ คือ
(1) อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง มีความหมายว่าสิ่งทั้งหลายมีลักษณะ
เปลี่ยนแปลงอยู่ เสมอไป ไม่มีความคงที่ตายตัว
(2) ทุกขัง แปลว่า เป็นทุกข์ มีความหมายว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีลักษณะที่
เป็นทุกข์ มองดูแล้วน่าสังเวชใจ ทําให้เกิดความทุกข์ใจแก่ผู้ที่ไม่มีความเห็นอย่างแจ่มแจ้งในสิ่งนั้น ๆ
(3) อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน มีความหมายว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มี
ความหมายแห่ง ความเป็นตัวเป็นตนไม่มีลักษณะอันใดที่จะทําให้เรายึดถือได้ว่ามันเป็นตัวเราของเรา
ถ้าเห็นอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจนถูกต้องแล้ว ความรู้สึกที่ว่าไม่มีตนจะเกิดขึ้นมาเองในสิ่งทั้งปวง แต่ที่เรา
ไปหลงเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน นั้น ก็เพราะความไม่รู้อย่างถูกต้องนั้นเอง
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ การประกาศความจริงออกไปว่า สิ่งปรุงแต่งทั้ง
ปวงไม่เที่ยง สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน
ลักษณะสามัญ 3 ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมากกว่าคําสั่งสอนอื่น ๆ
ในบรรดา คําสั่งสอนทั้งหลายจะนํามารวบยอดอยู่ที่การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ทั้งนั้น บางทีก็
กล่าวตรง ๆ บางที ก็พูดด้วยโวหารอย่างอื่น แต่ใจความมุ่งแสดงความจริงอย่างเดียวกัน
เมื่อได้กล่าวถึงหลักที่ว่า เราต้องรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไร และต้องปฏิบัติ
อย่างไร จึงจะ ตรงต่อกฎธรรมชาติของสิ่งทั้งปวง ดังนี้แล้ว หลักในพระบาลีก็มีอีกพวกหนึ่งเรียกว่า
โอวาทปาฏิโมกข์ แปลว่า คําสอนที่เป็นประธานของคําสอนทั้งหมด มีอยู่ 3 ข้อสั้น ๆ คือ ไม่ทําความ
ชั่วทั้งปวง ทําความดีให้ เต็มที่ และทําจิตใจให้สะอาดปราศจากความเศร้าหมอง นี้เป็นหลักสําหรับ
ปฏิบัติ
เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ยึดถือไม่ได้ และไปหลงใหล
ด้วยไม่ได้ ต้องปฏิบัติต่อสิ่งทั้งปวงให้ถูกต้องด้วยความระมัดระวัง คือเว้นจากการทําชั่ว หมายถึง การ
ละโมบโลภมาก ด้วยกิเลส ไม่ลงทุนด้วยการฝืนศีลธรรมขนบธรรมเนียมต่าง ๆ เพื่อไปทําความชั่ว อีก
ทางหนึ่งนั้นให้ทําแต่ ความดีตามที่บัณฑิตสมมุติตกลงกันว่าเป็นคนดี