Page 146 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 146
141
(4) ความซื่อสัตย์ คือ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ทําให้ไม่เกิดการมุสาวาท
ทําให้ไม่ผิด ศีลข้อที่ 4
(5) สติ คือ การรู้สึกตัว ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายกุศล ทําให้ชีวิตไม่ประมาท
เพราะรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว ทําให้ไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่จะทําให้ชีวิตตกต่ํา เช่น สุราเมื่อดื่มกินก็ทําให้
มึนเมาและขาดสติ การมี สติจึงทําให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 5
4. อิทธิบาท 4 เป็นธรรมที่นําไปสู่ความสําเร็จ ประกอบด้วย
(1) ฉันทะ หมายถึง ความพอใจ
(2) วิริยะ หมายถึง ความเพียร
(3) จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่
(4) วิมังสา หมายถึง ความไตร่ตรองตามเหตุผล
5. ฆราวาสธรรม 4 ธรรมของฆราวาสหรือผู้ครองเรือน บางที่เรียกว่า คฤหัสถ์หรือ
ชาวบ้านธรรมดา คือ
(1) สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ต่อกัน ซื่อตรงต่อกัน จะทําจะพูดอะไรก็ทําหรือ
พูดด้วยความ ชื่อสัตย์สุจริตไม่หลอกลวงคดโกง
(2) ทมะ คือ การรู้จักข่มจิตของตน รู้จักข่มความไม่พอใจเมื่อเกิดขึ้นเป็น
ครั้งคราว คนอยู่ ร่วมกันนาน ๆ ย่อมต้องมีอะไรผิดพลาดบกพร่อง ต้องรู้จักข่มไม่แสดงอาการพลุ่ง
พล่านหรือกราดเกรียว
(3) ขันติ คือ ความอดทน อดทนต่อความลําบากตรากตรํา ในการศึกษาเล่า
เรียน ในการ งานอาชีพ
(4) จาคะ คือ ความเสียสละ สละวัตถุสิ่งของสงเคราะห์เอื้อเฟื้อกัน
ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก ขาดแคลน สละกําลังกาย กําลังสติปัญญาเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
6. พรหมวิหาร 4 คําว่า พรหมวิหาร แปลตามตัวว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
โดย ใจความหมายถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่หรือของผู้เป็นใหญ่ หมายความว่า ผู้ที่เป็นผู้ใหญ่
เช่น บิดา มารดา ครู อาจารย์ ผู้ที่เป็นหัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ที่เป็นหัวหน้าในทางบริหาร ควรต้อง
เป็นผู้ตั้งอยู่ใน คุณธรรม
(1) เมตตา ความรักเอ็นดูหรือความปรารถนาดีต่อผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ต่อผู้ที่เป็นผู้น้อยกว่าตนปรารถนาให้ผู้อื่นนั้นมีความสุขความสําเร็จหรือความเจริญรุ่งเรืองตามควร
แก่สภาพของแต่ ละบุคคล