Page 143 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 143
138
7.2 หลักธรรมที่สําคัญทางศาสนา
7.2.1 ความหมายของหลักธรรมทางศาสนา
ศาสนาทุกศาสนามีหลักธรรมคําสั่งสอน ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของศาสนาใน
พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า “ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา " ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า
หลักธรรมนั้นสําคัญ และ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง แล้วนํามาเผยแพร่แก่มนุษย์
หลักธรรมทางศาสนาเป็นศัพท์ 3 คํา คือ หลัก ธรรม และศาสนา สามารถให้นิยามแต่ละคํา
ได้ดังนี้
หลัก หมายถึง เสาที่ปักไว้ ที่ผูก ที่มั่น เครื่องหมาย เครื่องยึดเหนี่ยว เครื่องจับยึด
สาระที่ มั่นคงอันเป็นที่ตั้ง (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546:1271)
ธรรม มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้
ธรรม หมายถึง คุณความดี คําสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา
ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งทั้งหลาย สิ่งของ (ราชบัณฑิตยสถาน,
2554:553)
ธรรม หมายถึง สิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นตัวเหตุ ตัวผลปรากฏต่าง ๆ และตัวคําสอน
หรือเป็น การปฏิบัติให้ลุถึงผล (พุทธทาสภิกขุ, 2537:139)
ธรรม หมายถึง ความจริง ความดี ความถูกต้อง ความประพฤติชอบ หลักการ แบบแผน คําสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงให้เปิดเผยปรากฏขึ้น ( พระธรรมปิฎก 2540 : 23)
จากความหมายของหลักธรรม สรุปได้ว่า หลักธรรม หมายถึง คําสอนทางพระพุทธศาสนา ที่ เป็น
ความจริง เป็นความดีงามน ความถูกต้อง เมื่อนําไปปฏิบัติช่วยให้เกิดความดีงามในชีวิต และสังคม
อยู่ ร่วมกันอย่างมีความสุข
ศาสนา หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์อันมีหลักคือ แสดงกําเนิดและความ
สิ้นสุดของโลก อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาป อันเป็นไป
ในฝ่ายศีลธรรม ประการ หนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความ
เชื่อถือนั้น ๆ