Page 55 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 55
50
เนื้อหาสาระ (Content)
3.1 ประเพณีไทย
3.1.1 ความหมายของประเพณีไทย
ประเพณี (Tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเอกลักษณ์
และมี ความสําคัญ เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม คุณธรรม ความเชื่อ
เป็นต้น
พระยาอนุมานราชธน กล่าวว่า ประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่ง
อยู่ในที่แห่ง หนึ่ง คือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียวและสืบต่อมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออก
นอกแบบแผนก็ผิด จารีตประเพณี
อุทัย หิรัญโต (2522 : 71) กล่าวว่า ประเพณี หมายถึง แบบแผนของความ
ประพฤติปฏิบัติและ การกระทําที่บุคคลในกลุ่มสังคมยึดถือในการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ
สุพัตรา สุภาพ (2525 : 138) กล่าวว่า ประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนการ
ปฏิบัติที่เห็นว่า ดีว่าถูกต้อง หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสังคมและมีการปฏิบัติสืบต่อ ๆ
กันมา เช่น การเกิด การ แต่งงาน การบวช ปลูกบ้าน ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
รัชนีกร เศรษฐโฐ (2523 : 193) กล่าวว่า ประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่สืบ
ต่อกันมา จนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในหมู่คณะ เช่น การแต่งงาน การเกิด การตาย เป็น
ต้น
เสฐียร โกเศศ ได้กล่าวว่า ประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่หมู่ชนหมู่หนึ่ง ถือ
เป็นธรรม เนียมหรือแบบแผนสืบต่อกันมาจนเป็นพิธีเดียวกัน ถ้าใครในหมู่ประพฤตินอกแบบ
เป็นการผิดประเพณี
แปลก สนธิรักษ์ กล่าวว่า ประเพณี หมายถึง พิธีปฏิบัติสืบ ๆ มา มีการ
เปลี่ยนแปลงแก้ไข คงไว้บ้างประเพณี แสดงถึงสัญลักษณ์ของชาติ
จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่าประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กําหนดพฤติกรรมที่ คน
ส่วนใหญ่ยอมรับในหมู่คณะ ได้แก่ ความเชื่อ ความคิด ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม จารีต ตลอด
จนถึง การประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ