Page 58 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 58
53
รูปที่ 3.3 ประเพณีการทําบุญตักบาตร
1. ประเพณีส่วนบุคคล
(1) ประเพณีการเกิด การเกิดเป็นเรื่องที่สังคมไทยให้ความสําคัญ จุดประสงค์
ของการ ทําพิธีก็เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดระหว่างการตั้งครรภ์ และไม่เป็นอันตรายต่อผู้
ตั้งครรภ์ เพื่อคุ้มครอง ปกปักษ์รักษาทารกให้คลอดออกมาโดยปลอดภัย เนื่องจากในระยะนี้
ทารกมีร่างกายบอบบาง อ่อนแอ ความต้านทานโรคต่ํา
แต่เดิมมีความเชื่อว่า การทําพิธีเกิดจะช่วยป้องกันปัดเป่าผีร้ายที่จะมาทํา
อันตราย แก่ทารกและแม่เพราะวิทยาการต่าง ๆ ในสมัยนั้นยังไม่เจริญ คนจึงไปเชื่อในสิ่งลึกลับ
เช่น เชื่อว่าผีบันดาล ให้เป็นเช่นนั้น ต่อมาเมื่อมนุษย์เจริญขึ้น พอจะเข้าใจถึงความเป็นไปต่าง ๆ
ความเชื่อในเรื่องผีค่อย ๆ หมด ไป แต่ชนบางกลุ่มยังนิยมปฏิบัติ
พิธีการเกิดนี้จึงเป็นข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติของหญิงที่กําลังจะเป็นแม่คน เริ่ม
ตั้งครรภ์ เจ็บท้อง พอหลังคลอด ก็ต้องมีพิธีตัดสายสะดือ อาบน้ํา ฝังรกเด็ก โดยเฉพาะในสมัย
โบราณ การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้าอย่างปัจจุบัน อัตราการเสียชีวิตของทารกอยู่ในระดับสูง
คนสมัยก่อนบาง กลุ่มเชื่อว่าผีมาพาตัวเด็กไป พ่อแม่จึงต้องทําบุญเด็กเป็นระยะ ๆ ตามวัย เช่น
ทําขวัญโกนผมไฟ พิธีลงอู่ ตั้ง ชื่อ ทําขวัญเด็ก ปูเปลเด็ก โกนจุก (ถ้าไว้จุก)
(2) ประเพณีการบวช หมายถึง การบวชเป็นพระภิกษุ สามเณรใน
พระพุทธศาสนา ประเพณีการบวชนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล ต่อมาได้แพร่กระจายเข้ามายัง
สังคมไทยพร้อมกับการเข้า มาของพุทธศาสนา คนไทยถือว่าการบวชได้บุญกุศลมาก ผู้บวชได้
ชื่อว่าเป็นญาติกับพุทธศาสนาและได้ ศึกษาวิชาทางพระพุทธศาสนา